喜欢泰国传统文化的小伙伴们或多或少都应该听说过《孔剧》这一门古老的艺术,甚至有的小伙伴可能看过孔剧的表演,但是对于孔剧,小伙伴们有深入了解过吗?如果没有,那现在就一起来深入了解一下吧~




“孔剧”这是一种结合了文学与艺术等众多领域的高雅戏剧,但 “โขน(孔剧)”一词究竟源于哪个时代尚未清楚。

โขนเป็นจุดศูนย์รวมของศาสตร์และศิลป์หลากหลายแขนงเช่น วรรณกรรม วรรณศิลป์ นาฏศิลป์ คีตศิลป์ หัตถศิลป์ โดยนำเอาวิธีเล่นและการแต่งตัวบางชนิดมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ มีท่าทางการต่อสู้ที่โลดโผน ท่ารำ ท่าเต้นเช่น ท่าปฐมในการไหว้ครูของกระบี่กระบอง รวมทั้งการนำศิลปะการพากย์ การเจรจา หน้าพาทย์และเพลงดนตรีเข้ามาประกอบการแสดง ในการแสดงโขน ลักษณะสำคัญอยู่ที่ผู้แสดงต้องสวมหัวโขน ซึ่งเป็นเครื่องสวมครอบหุ้มตั้งแต่ศีรษะถึงคอ เจาะรูสองรูบริเวณดวงตาให้สามารถมองเห็น แสดงอารมณ์ผ่านทางการร่ายรำ สร้างตามลักษณะของตัวละครนั้นๆ เช่น ตัวยักษ์ ตัวลิง ตัวเทวดา ฯลฯ ตกแต่งด้วยสี ลงรักปิดทอง ประดับกระจก บ้างก็เรียกว่าหน้าโขน
孔剧是包含了文学与艺术等众多领域精粹的集合,比如文学、创作艺术、舞台艺术、作曲、手工创作等,并且借鉴了《搅乳海》的部分表演形式与装束,孔剧既有舞蹈场面也有惊险刺激的战斗场面,如《祭拜剑棍之师》一出,其中包含了旁白、对白、音乐等表演元素。在孔剧的表演中,最鲜明的特点是表演者需要戴上《孔剧》特有的把脸和脖子全部覆盖的面具(抑或头罩),比如夜叉面具、猴子面具、神明面具等,这些面具都经过了上色、贴金以及贴装饰的玻璃物等。



ในสมัยโบราณ ตัวพระและตัวเทวดาต่างสวมหัวโขนในการแสดง ต่อมาภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงไม่ต้องสวมหัวโขน คงใช้ใบหน้าจริงเช่นเดียวกับละคร แต่งกายแบบเดียวกับละครใน เครื่องแต่งกายของตัวพระและตัวยักษ์ในสมัยโบราณมักมีสองสีคือ สีหนึ่งเป็นสีเสื้อ อีกสีหนึ่งเป็นสีแขนโดยสมมุติแทนเกราะ เป็นลายหนุนประเภทลายพุ่ม หรือลายกระจังตาอ้อย ส่วนเครื่องแต่งกายตัวลิงจะเป็นลายวงทักษิณาวรรต โดยสมมุติเป็นขนของลิงหรือหมี
在古时候,男主角和神明两个角色是需要戴面具进行表演的,但后来变成了无需戴面具表演,和影视剧一样用真脸演出,而装束则和女孔剧(全女性出演的孔剧)一样。在古时候,男主角和夜叉角色的装束通常只有两种颜色,一种是衣服的颜色,一种是手臂的颜色,通过手臂上的颜色来表示护甲,且其花纹一般是 Phum 花纹或者 Krajang Daoui 花纹。至于猴子装束上的花纹则是 WongThaksinawant 花纹,用来表示猴或者熊的毛发。



ดำเนินเรื่องด้วยการกล่าวคำนำเล่าเรื่องเป็นทำนองเรียกว่าพากย์อย่างหนึ่ง กับเจรจาเป็นทำนองอย่างหนึ่ง ใช้กาพย์ยานีและกาพย์ฉบัง โดยมีผู้ให้เสียงแทนเรียกว่าผู้พากย์และเจรจา มีต้นเสียงและลูกคู่ร้องบทให้ ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้าประกอบการแสดง นิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์และอุณรุท ปัจจุบันสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์มีหน้าที่หลักในการสืบทอดการฝึกหัดโขน และกรมศิลปากร มีหน้าที่ในการจัดการแสดง
表演时是以我们称之为配音的一种讲诉故事的步调和一种对话形式的步调进行的,这些配音的体裁一般是韵文 Kapy Yani 或者 Kapy Chabang,配音团队里一般分为主唱人员和合唱人员,同时配以五大传统乐器(箫、圈锣、铙、双面桶鼓、木琴)进行演出,热门剧目一般是《拉玛坚》以及《乌纳鲁》。现在主要由 Bunditpatanasilpa 研究所(Bunditpatanasilpa Institute)对孔剧进行传承和训练,而艺术厅则负责安排演出。

กาพย์ยานี(Kap Yani):一种只有11个字的诗歌,分为两段,第一段5个字,第二段6个字。

กาพย์ฉบัง(Kap Chabang):一种只有16个字的诗歌,通常分为三段,第一和第三段每段6个字,第二段4个字。



โขนจัดเป็นนาฏกรรมที่มีความเป็นศิลปะเฉพาะของตนเอง ไม่ปรากฏชัดแน่นอนว่าคำว่า "โขน" ปรากฏขึ้นในสมัยใด แต่มีการเอ่ยถึงในวรรณคดีไทยเรื่องลิลิตพระลอที่กล่าวถึงโขนในงานแสดงมหรสพ ระหว่างงานพระศพของพระลอ พระเพื่อนและพระแพงว่า "ขยายโรงโขนโรงรำ ทำระทาราวเทียน" โดยมีข้อสันนิษฐานว่าคำว่าโขนนั้น มีที่มาจากคำและความหมายในภาษาต่าง ๆ ดังนี้
孔剧的舞蹈是一种有着自己独特艺术风格的舞蹈,虽然“โขน”一词究竟出自哪个时代还不能确定,但是在泰国的文学作品《帕罗赋》中却有着孔剧演出的描述,书中写到在帕罗的丧礼期间,Phrapheun 和 PhraPhaeng 说到“ขยายโรงโขนโรงรำ ทำระทาราวเทียน”(扩建舞蹈培训点,兴建烟火台和烛架),因此有人推测“โขน”一词可能是从其他语言中的某个词或者某个涵义中演变而来的,具体如下所示:

คำว่าโขนในภาษาเบงกาลี ซึ่งปรากฏคำว่า "โขละ" หรือ "โขล" (บางครั้งสะกดด้วย ฬ เป็นคำว่า"โขฬะ" หรือ "โขฬ") ที่เป็นชื่อเรียกของเครื่องดนตรีประเภทหนังชนิดหนึ่งของฮินดู ลักษณะและรูปร่างคล้ายคลึงกับตะโพนของไทย ไม่มีขาตั้ง ทำด้วยดิน ไม่มีสายสำหรับถ่วงเสียง มีเสียงดังค่อนข้างมาก จัดเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมในแคว้นเบงกอล ประเทศอินเดีย ใช้สำหรับประกอบการละเล่นชนิดหนึ่ง เรียกว่ายาตราหรือละครเร่ที่คล้ายคลึงกับละครชาตรี โดยสันนิษฐานว่าเครื่องดนตรีชนิดนี้ เคยถูกนำมาใช้ประกอบการเล่นนาฏกรรมชนิดหนึ่ง จึงเรียกว่าโขลตามชื่อของเครื่องดนตรี
“โขน”可能来自孟加拉语中的"โขละ" 或者 "โขล"(有时候ล写作ฬ,写成โขฬะ或者โขฬ),这是印度教一种皮质乐器的名字,其造型近似于泰国的塔朋鼓,用土为身,没有支撑脚架,没有降调用的弦,其声较为洪亮,在印度的孟加拉地区是一种非常受欢迎的乐器。这种乐器一般用在 Yatra 或者 Lakornre(类似于洛坤差德里戏)的表演中。有人推测这种乐器可能曾经是某类戏曲的演奏乐器,因此才根据乐器 โขล 的名字来命名。


(泰国塔朋鼓)

คำว่าโขนในภาษาอิหร่าน มีที่มาจากคำว่าษูรัต ควาน หมายความถึงตุ๊กตาหรือหุ่น ซึ่งใช้สำหรับประกอบการแสดง โดยมีผู้ขับร้องและให้เสียงแทนตัวหุ่น เรียกว่าควานหรือโขน มีความคล้ายคลึงกับผู้พากย์และผู้เจรจาของการแสดงโขนในปัจจุบัน
“โขน”可能来自伊朗语中的 ษูรัต ควาน,意思是表演用的玩偶或者傀儡,它们由人操控并配音,而这些人通常将其称为“ควาน”或者“โขน”,类似于今天孔剧演出中的配音演员。

คำว่าโขนในภาษาเขมร เป็นการกล่าวถึงโขนในพจนานุกรมภาษาเขมร ซึ่งหมายความถึงละคร แต่เขียนแทนว่าละโขน ที่หมายความถึงการแสดงมหรสพอย่างหนึ่ง
在高棉语中,“โขน”在高棉语字典里的意思是戏剧,但是写作“ละโขน”,而这个词意思是一种表演类型。


(柬埔寨面具舞)

จากข้อสันนิษฐานต่าง ๆ ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าโขนเป็นคำมาจากภาษาใด พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ระบุความหมายของโขนเอาไว้ว่า "โขนหมายถึงการเล่นอย่างหนึ่งคล้ายละครรำ แต่เล่นเฉพาะในเรื่องรามเกียรติ์ โดยผู้แสดงสวมหัวจำลองต่าง ๆ ที่เรียกว่าหัวโขน" หรือหมายความถึงไม้ใช้ต่อเสริมหัวเรือท้ายเรือให้งอนเชิดขึ้นไปที่เรียกว่าโขนเรือ หรือใช้สำหรับเรียกเรือชนิดหนึ่งที่มีโขนว่าเรือโขนเช่น เรือโขนขนาดใหญ่น้อยเหลือหลายในลิลิตพยุหยาตรา หรือหมายความถึงส่วนสุดทั้งสองข้างของรางระนาดหรือฆ้องวงใหญ่ที่มีลักษณะงอนขึ้นว่าโขน
从上面这些推测中还是不能确定“โขน”一词究竟来自何种语言,而在《年皇家字典1982年版》中给“โขน”的解释是1.类似于洛坤 ram 的一种戏剧表演形式,表演剧目多为《拉玛坚》,演员需戴上一种称为“หัวโขน”的表示角色的面具。2.意指用来使船头船尾上翘的木材,被称作“โขนเรือ”。3.一种船头翘起的船的名字,被称作“เรือโขน”,诗歌《Lilit Phayuhyattra》中描写了大大小小很多“เรือโขน”。4.木琴或大圈锣两头翘起的尾部。



ในสมัยของสมเด็จพระนาราย์มหาราช ได้มีการกล่าวถึงโขนโดยลาลูแบร์ เอาไว้ว่า "โขนนั้น เป็นการร่ายรำเข้า ๆ ออก ๆ หลายคำรบ ตามจังหวะซอและเครื่องดนตรีอย่างอื่นอีก ผู้แสดงนั้นสวมหน้ากาก (หัวโขน) และถืออาวุธ แสดงบทหนักไปในทางสู้รบกันมากกว่าจะเป็นการร่ายรำ และมาตรว่าการแสดงส่วนใหญ่จะหนักไปในทางโลดเต้นเผ่นโผนโจนทะยาน และวางท่าอย่างเกินสมควรแล้ว นาน ๆ ก็จะหยุดเจรจาออกมาสักคำสองคำ หน้ากาก (หัวโขน) ส่วนใหญ่นั้นน่าเกลียด เป็นหน้าสัตว์ที่มีรูปพรรณวิตถาร (ลิง) หรือไม่เป็นหน้าปีศาจ (ยักษ์) " ซึ่งเป็นการแสดงความเห็นต่อมหรสพในอดีตของชาวไทยในสายตาของชาวต่างประเทศ
在那莱王时期,法国外交官 laLoubère 曾谈及他看到的孔剧,他说“孔剧是根据椰胡和其他乐器的音乐节奏起舞的一种舞蹈,演员们戴上面具并拿着武器,演出看起来更侧重于战斗而不是舞蹈,大部分演出更侧重于翻腾跳跃,有的舞姿甚至看起来不合常理,而且跳了很久才停下来说上一两句话,大部分面具看起来也很讨厌,是一直奇怪的动物面孔(猴子)或者妖怪的面孔(夜叉)。”这是外国人对于泰国人过去的娱乐的看法。



แต่เดิมนั้นการแสดงโขนจะไม่มีการสร้างฉากประกอบการแสดงตามท้องเรื่อง การดำเนินเรื่องราวต่าง ๆ เป็นแบบจินตนาการถึงฉากหรือสถานที่ในเรื่องราวเอง การจัดฉากในการแสดงโขนเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยที่ทรงคิดสร้างฉากประกอบการแสดงโขนบนเวทีขึ้น คล้ายกับการแสดงละครดึกดำบรรพ์ที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงคิดขึ้น
最初孔剧的演出并不会根据剧情来布置场景,演出的剧情景象都是靠想象。根据剧情布置场景来演出是在拉玛五世时期才首次出现,当时拉玛五世想给舞台上孔剧布置相应的场景,就像是 Narisara 王子当时给古戏剧的演出所做的那样。




ประเภทของโขนแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ
孔剧可以分为五类,分别为:


โขนกลางแปลง
露天孔剧(Khon Klang Plaeng)

โขนกลางแปลงเป็นการเล่นโขนกลางแจ้ง ไม่มีการสร้างโรงแสดง ใช้ภูมิประเทศและธรรมชาติเป็นฉากในการแสดง ผู้แสดงทั้งหมดรวมทั้งตัวพระต้องสวมหัวโขน นิยมแสดงตอนยกทัพรบ วิวัฒนาการมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์เรื่องกวนน้ำอมฤตที่ใช้เล่นในพิธีอินทราภิเษก ปรากฏในกฎมณเฑียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยนำวิธีการแสดงคือการจัดกระบวนทัพและการเต้นประกอบหน้าพาทย์มาใช้ แต่เปลี่ยนมาเล่นเรื่องรามเกียรติ์แทน มีการเต้นประกอบหน้าพาทย์และอาจมีบทพาทย์และเจรจาบ้าง แต่ไม่มีบทร้อง
露天孔剧是一种户外孔剧,不会特地搭建戏台,而是以演出场地的地形和自然风光为背景,包括男主角在内的全部演员都需要带上面具,常演的剧目是《YokThaprob》,这出剧目是从《搅乳海》剧目演化而来的,常在登基大典时演出。这出剧目出现于大城王朝时期,通过以排兵布阵的形式来展现,同时配以专门的音乐,但是后来演出内容改成了《拉玛坚》,演出时也会配以音乐,可能也会有部分对白,但是没有吟唱部分。



โขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว
民间孔剧(Khon Rong Nok)

เป็นการแสดงบนโรงมีหลังคา ไม่มีเตียงสำหรับตัวโขนนั่ง แต่มีราวพาดตามส่วนยาวของโรงตรงหน้าฉาก (ม่าน) มีช่องทางให้ผู้แสดงเดินได้รอบราวแทนเตียง มีการพากย์และเจรจา แต่ไม่มีการร้อง ปี่พาทย์บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ มีปี่พาทย์ 2 วง เพราะต้องบรรเลงมาก ตั้งหัวโรงท้ายโรง จึงเรียกว่าวงหัวและวงท้าย หรือวงซ้ายและวงขวา วันก่อนแสดงโขนนั่งราวจะมีการโหมโรง และให้พวกโขนออกมากระทุ้งเส้าตามจังหวะเพลง พอ จบโหมโรงก็แสดงตอนพิราพออกเที่ยวป่า จับสัตว์กินเป็นอาหาร พระรามหลงเข้าสวนพวาทองของพิราพ แล้วก็หยุดแสดง พักนอนค้างคืนที่โรงโขน รุ่งขึ้นจึงแสดงตามเรื่องที่เตรียมไว้ จึงเรียกว่า "โขนนอนโรง"
是在有屋顶的简易剧院里进行演出,演出时没有孔剧演出要坐的床,而是以与舞台一样长的大竹子代替,大竹子周围有供演员行走的空隙。有配音和对白,但是没有吟唱部分。有两组乐队进行配乐演奏,因为需要演奏很多曲目,因为两组乐队分别在剧院的两侧,因此又称为头部乐队和尾部乐队,亦或者是左侧乐队和右侧乐队。以前在演出诺孔剧时,会有开场乐,全部的演员都会上台根据开场乐的节奏跳舞,开场乐结束后会演出夜叉游山,捕捉动物为食,而此时罗摩误入了夜叉的花园的剧情。演完后就息演休息,晚上演员们会在小剧院里过夜,第二天再演出准备好的剧目,因此这种孔剧又被成为“睡在剧院的孔剧”。



โขนหน้าจอ
幕前孔剧(Khon Na Chor)

คือ โขนที่เล่นตรงหน้าจอ ซึ่งเดิมเขาขึงไว้สำหรับเล่นหนังใหญ่ ในการเล่นหนังใหญ่นั้น มีการเชิดหนังใหญ่อยู่หน้าจอผ้าขาว การแสดงหนังใหญ่มีศิลปะสำคัญ คือการพากย์และเจรจา มีดนตรีปี่พาทย์ประกอบการแสดง ผู้เชิดตัวหนังต้อง เต้นตามลีลาและจังหวะดนตรี นิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์ ต่อมามีการปล่อยตัวแสดงออกมาแสดงหนังจอ แทนการเชิดหนังในบางตอน เรียกว่า "หนังติดตัวโขน" มีผู้นิยมมากขึ้น เลยปล่อยตัวโขนออกมาแสดงหน้าจอตลอด ไม่มีการเชิดหนังเลย จึงกลายเป็นโขนหน้าจอ และต้องแขวะจอเป็นประตูออก 2 ข้าง เรียกว่า "จอแขวะ"
这是一种直接在皮影戏幕布前演出的孔剧。在演出皮影戏时,是把皮影放在白布前表演,同时配以音乐,这时操控者需要根据音乐的节奏来进行皮影的操控,但皮影戏最重要的技艺是配音和对白,最喜欢演出的剧目是《拉玛坚》。而后来在过场之时,会让演员出来真人表演,因此逐渐有人将其称为“紧接着皮影的孔剧”,而此后戏班更是让演员直接在幕布前进行表演,不再在幕后操控皮影演出,因此这种孔剧就逐渐变成了幕前孔剧,这也致使需要在幕布两旁设置两扇门(供演员上下场),而这种幕布便被称为“挖孔幕布”。



โขนโรงใน
宫廷孔剧(Khon Rong Nai)

คือ โขนที่นำศิลปะของละครในเข้ามาผสม โขนโรงในมีปี่พาทย์บรรเลง 2 วงผลัดกัน การ แสดงก็มีทั้งออกท่ารำเต้น ทีพากย์และเจรจาตามแบบโขน กับนำเพลงขับร้องและเพลงประกอบกิริยาอาการ ของดนตรีแบบละครใน และมีการนำระบำรำฟ้อนผสมเข้าด้วย เป็นการปรับปรุงให้วิวัฒนาการขึ้นอีก การผสมผสานระหว่างโขนกับละครในสมัยรัชกาลที่ 1 รัชกาลที่ 2 ทั้งมีราชกวีภายในราชสำนักช่วยปรับปรุงขัดเกลา และประพันธ์บทพากย์บทเจรจาให้ไพเราะสละสลวยขึ้นอีก
这是一种结合了洛坤剧技艺以及泰北部舞蹈动作的孔剧,它的配乐一般有两个乐队交替演出,其演出囊括了舞蹈、配音、对白、用洛坤奈剧的乐器演奏的配乐、配合动作的吟唱等,进一步丰富了孔剧的内容。另外在拉玛一世和拉玛二世时期,孔剧和洛坤剧还出现了融合,同时皇家诗人不仅对其进行了雕琢,还给其撰写了更为风雅优美的韵文对白。

โขนที่กรมศิลปากรนำออกแสดงในปัจจุบันนี้ ก็ใช้ศิลปะการแสดงแบบโขนโรงใน ไม่ว่าจะแสดงกลางแจ้งหรือแสดงหน้าจอก็ตาม
如今艺术团们演出的孔剧,不论是表演露天孔剧还是幕前孔剧,都是采用宫廷孔剧的模式来进行演出。



โขนฉาก
布景孔剧(Khon Chak)

เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อมีผู้คิดสร้างฉากประกอบเรื่องเมื่อแสดงโขนบนเวที คล้ายกับละครดึกดำบรรพ์ ส่วนวิธีแสดงดำเนินเช่นเดียวกับโขนโรงใน แต่มีการแบ่งเป็นชุดเป็นตอน เป็นฉาก และจัดฉากประกอบตามท้องเรื่อง จึงมีการตัดต่อเรื่องใหม่ไม่ให้ย้อนไปย้อนมา เพื่อสะดวกในการจัดฉาก กรม ศิลปากรได้ทำบทเป็นชุดๆ ไว้หลายชุด เช่น ชุดปราบกากนาสูร ชุดมัยราพณ์สะกดทัพ ชุดชุดนางลอย ชุดนาคบาศ ชุดพรหมาสตร์ ชุดศึกวิรุญจำบัง ชุดทำลายพิธีหุงน้ำทิพย์ ชุดสีดาลุยไฟและปราบบรรลัยกัลป์ ชุดหนุมานอาสา ชุดพระรามเดินดง ชุดพระรามครองเมือง
在五世王时期,有人提出能不能在舞台上演出孔剧的时候,像原始戏剧一样有布景,而表演则还是按照宫廷孔剧的形式来演出,但是会根据内容分成一折一折的形式,这样让孔剧得到了新的剧情排序,不再前后内容反复切换,以便方便进行布景。之后艺术家们将孔剧分成了很多折,如《ชุดปราบกากนาสูร》《ชุดมัยราพณ์สะกดทัพ》《ชุดชุดนางลอย》《ดนาคบาศ》《ชุดพรหมาสตร์》《ชุดศึกวิรุญจำบัง》《ชุดทำลายพิธีหุงน้ำทิพย์》《ชุดสีดาลุยไฟและปราบบรรลัยกัลป์》《ชุดหนุมานอาสา》《ชุดพระรามเดินดง》《ดพระรามครองเมือง》等。



การแสดงโขน โดยทั่วไปนิยมแสดงเรื่อง "รามเกียรติ์" กรมศิลปากรเคยจัดแสดงเรื่องอุณรุฑ แต่ไม่เป็นที่นิยมเท่าเรื่องรามเกียรติ์ เรื่องรามเกียรติ์ที่นำมาแสดงโขนนั้นมีหลายสำนวน ทั้งที่ประพันธ์ขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะบทในสมัยรัตนโกสินทร์ นิยมแสดงตามสำนวนของรัชกาลที่ 2 ที่ กรมศิลปากรปรับปรุงเป็นชุดเป็นตอน เพื่อแสดงโขนฉาก ก็เดินเรื่องตามสำนวนของรัชกาลที่ 2 รัชกาลที่ 6 ก็เคยทรงพระราชนิพนธ์บทร้องและบทพากย์ไว้ถึง 6 ชุด คือ ชุดสีดาหาย ชุดเผาลงกา ชุดพิเภกถูกขับ ชุดจองถนน ชุดประเดิมศึกลงกา และชุดนาคบาศ
孔剧的演出,普遍热衷演出《拉玛坚》剧目,虽然艺术团们曾经也演出过《乌纳鲁》,但是热度终是不如《拉玛坚》。而孔剧《拉玛坚》的剧本各朝代都有对其进行编写,如大城王朝时期,吞武里王朝时期,曼谷王朝时期等。尤其是在曼谷王朝时期,尤其喜欢演出拉玛二世编写的版本,因为艺术家们将其编排成了一折一折的形式以便于演出布景版的孔剧。而拉玛六世也为其编写了吟唱歌词和韵文共6首,分别为《消失的悉多》《火烧楞伽岛》《驱除夜叉王 Phipek》《筑路篇》《楞伽岛初战》《蛇套》。




好了,以上便是本次要介绍的内容了,看完小伙伴们有没有觉得孔剧的神秘面纱又被揭开了一层的感觉呢~


声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自sanook,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。