说到泰语里的月份和星期,对于泰语的初学者来说绝对是个令人头疼的大问题,它们的书写都不是很规则,记忆起来特别困难,稍不留神就容易写错。那你知道这些难缠的家伙都是怎么来的吗?泰国人为什么会用这么多难写难读的词呢?今天的文章帮你来回答这些问题。


คำที่คนไทยใช้เรียกชื่อวัน ชื่อเดือนต่างๆ ตั้งแต่วันจันทร์ จนถึงวันอาทิตย์และเดือนมกราคม จนถึงเดือนธันวาคม เหล่านี้ เคยสงสัยไหมว่า มีที่มาจากไหนกันบ้างก่อนที่เราจะนำมาใช้กันสารพัด ไม่ว่าจะนำมาร้องเป็นเพลงต่างๆ ในความบันเทิง หรือใช้สำหรับอ้างอิงลำดับเวลาให้สอดคล้องกับสากล
泰国人用 来叫星期和月份的单词,从星期一到星期日,从一月到十二月,不知道有没有人怀疑过,这些词都是从哪里来的呢?在唱歌的时候也会用,和国际上的日期顺序也可以完全对应起来。



ชื่อวัน
 


กรณีนี้ ส.พลายน้อย นักเขียนอาวุโสเคยอธิบายไว้ในบทความ “ชื่อ ‘วัน-เดือน’ ของไทย” เผยแพร่ใน ศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนมกราคม พ.ศ. 2535 เนื้อหาส่วนหนึ่งอธิบายไว้ว่า ในสมัยโบราณ ไทยกำหนดวันเดือนแบบจันทรคติ อาศัยการโคจรของดวงจันทร์เป็นหลัก โดยนับจำนวนวันตามดวงจันทร์ เริ่มตั้งแต่ดวงจันทร์มีแสงสว่างน้อย ไปจนถึงสว่างเต็มดวง ระยะนี้เรียกว่า “ข้างขึ้น” หรือ “เดือนหงาย” เพราะรูปดวงจันทร์มีลักษณะหงายขึ้น จนกระทั่งโตเต็มดวง เริ่มนับแต่ขึ้น 1 ค่ำไปจนถึง 15 ค่ำ
关于这个问题,知名作家 Phlainoi 曾经在1992年1月《文化艺术》发表的文章《泰国的日期和月份》解释说,在古代,泰国根据月亮的阴晴圆缺规定日期,主要依靠月亮的 公转,用以计算天数,从月亮只有一点光亮开始一直到满月,这段时间叫做“渐圆月”,月亮的形状逐渐翻转过来,直到变为满月,从初一一直到十五。

ต่อจากนั้นดวงจันทร์ก็เริ่มแหว่งมีแสงน้อยลงตามลำดับ ระยะนี้รูปดวงจันทร์ดูเหมือนคว่ำ มีลักษณะเป็นเสี้ยวเล็กลงจนดับมิดดวง เรียกว่า “ข้างแรม” เริ่มนับแต่แรม 1 ค่ำ เรื่อยไปจนถึงแรม 14 ค่ำ และแรม 15 ค่ำ
后面月亮的 光芒会逐渐减弱,这个阶段月亮的形状好像是面朝下扣过来一样,变得像一个细长的形状,叫做“残月”,从十六一直到三十。

เดือนหนึ่งจึงมี 29 วันบ้าง 30 วันบ้าง แล้วแต่เดือนขาด เดือนเต็ม (เดือนขาด คือมี 29 วัน เพราะมีเพียง แรม 14 ค่ำ จะมีในเดือน 3, 5, 7, 9 และ 11 )
一个月有的有29天, 有的有30天,看是满月还是残月(残月有29天,只到二十九,分别是3月、5月、7月、9月和11月)。




สำหรับชื่อวันที่ใช้ว่า “วันจันทร์” ไปจนถึง “วันอาทิตย์” ส.พลายน้อย อธิบายไว้ว่า ไทยได้แบบอย่าง “การเรียกชื่อวัน” ทั้ง 7 นี้มาจากอินเดีย คือ วันอาทิตย์ วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ และวันเสาร์
关于“周一”到“ 周五”的使用,Phlainoi 解释说,泰国一星期七天的叫法是来自印度的,分别是 วันอาทิตย์/wan1?aa1thit4/‘星期日’、วันจันทร์/wan1chan1/‘星期一’、วันอังคาร/wan1?ang1khaan1/‘星期二’、วันพุธ/wan1phut4/‘星期三’、วันพฤหัสบดี/wan1phrue4hat2sa2bɔɔ1dii1/‘星期四’、วันศุกร์/wan1suk2/‘星期五’和วันเสาร์/wan1sao5/‘星期六’。

แต่จะมีแตกต่างกันบ้างบางวัน เพราะในอินเดียเรียกวันทั้ง 7 เป็น รวิวาร-วันอาทิตย์, โสมวาร-วันจันทร์, มงคลวาร-วันอังคาร, พุธวาร-วันพุธ, พฤหัสบดีวาร-วันพฤหัสบดี, ศุกรวาร-วันศุกร์ และศนิวาร-วันเสาร์
但是也会有一些不同,印度一星期七天的叫法分别是:รวิวาร/ra4wi4waan1/‘周日’、โสมวาร/soom5waan1/‘周一’、มงคลวาร/mong1khon1waan1/‘周二’、พุธวาร/phut4tha4waan1/‘周三’、พฤหัสบดีวาร/ phrue4hat2sa2bɔɔ1dii1waan1/‘周四’、ศุกรวาร/suk2ra4waan1/‘周五’和ศนิวาร/sa2ni4waan1/‘周六’。

สำหรับไทยเรานำแบบอย่างมา และเปลี่ยนคำเรียกให้เหมาะสมกับนามเทวดานพเคราะห์ที่ใช้เรียกในเมืองไทย การเรียกชื่อวันดังกล่าวมีมาเป็นเวลายาวนานแล้ว มีหลักฐานปรากฏในหลักศิลาจารึกหลายแห่ง
泰国人借鉴了这种 命名方法,并根据泰国星宿的名字叫法进行了调整,上述叫法历史非常悠久,已经发现的多个石碑上都有记载。





ชื่อเดือน
 


ส่วน “การเรียกชื่อเดือน” ไทยไม่ได้เอาแบบของอินเดียซึ่งทางนั้นเริ่มที่เดือน เดิมทีแล้ว ไทยเรียกเดือนแรกของปีว่า เดือนอ้าย เดือนที่สองของปี ว่าเดือนยี่ เดือนสาม เดือนสี่ ไปตามลำดับ แม้ต่อมา เราจะเปลี่ยนไปใช้เดือน 5 เป็นเดือนแรกของปีในภายหลัง เราก็ยังเรียกตามแบบเดิม
月份的叫法泰国人没有借鉴印度人的说法。以前,泰国人把一年的第一个月叫做 เดือนอ้าย‘一月’(ps:อ้าย原本有‘长子’的意思),第二个月叫做 เดือนยี่‘二月 ’,接下来按顺序分别是เดือนสาม เดือนสี่。虽然后来泰国人将5月当作新年的第一个月,但是仍然沿袭了上述的叫法。

เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริว่า การใช้วันเดือนตามแบบจันทรคติไม่สะดวก ไม่เหมาะสมกับความเป็นไปของบ้านเมืองที่ต้องมีความสัมพันธ์กับต่างประเทศที่เขานับวันเดือนตามแบบสุริยคติ (กำหนดว่าเมื่อโลกโครจรไปรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งนับเป็นเวลาปีหนึ่งมีตำนวน 365 วันเศษ แบ่งเป็น 12 เดือน ส่วนจันทรคติกำหนดว่าดวงจันทร์โคจรไปรอบดวงอามทิคตย์ครั้งหนึ่งเป็นเวลา 1 ปี มีจำนวนเพียง 354 วันเศษ) จึงทรงหาจังหวะที่จะเปลี่ยนวิธีนับวันและเรียกชื่อเดือนเสียใหม่ เพื่อให้ใช้เรียกและกำหนดจดจำได้ง่ายขึ้น
在曼谷王朝五世王时期,颁布御诏,认为阴历的历时计算方法不够简便,要根据国际惯例使用阳历历时的方法(规定地球绕太阳公转一圈需要365天多,分成12个月,阴历规定地球 绕太阳自转一圈用时为354天多),所以规定了新的月份计算方法,为了使历时方法更加简便。

เมื่อมาถึงในปีฉลู จ.ศ. 1251 มีวันประจวบเหมาะคือในเดือน 5 ขึ้น 1 คำซึ่งเป็นวันปีใหม่เปลี่ยนปีนักษัตรตามปกตินั้นตรงกับวันที่ 1 ตามปฏิทินสุริยคติพอดี คือเป็นวันที่ 1 ในเดือน 5 แต่จะใช้ว่าวันที่ 1 เดือน 5 หรือเดือนเจตรตามแบบอินเดียดูไม่เหมาะ จึงต้องคิดชื่อเดือนขึ้นใหม่ โดยอาศัยหลักโหราศาสตร์ที่ว่า เมื่อพระอาทิตย์โคจรเข้าสู่ราศีเมษ ที่เรียกว่าเป็นวันสงกรานต์ขึ้นปีใหม่จึงเอาชื่อราศีเมษมาเป็นชื่อเดือน ราศีถัดไปคือราศีพฤษภ ราศีมิถุน ราศีกรกฎ ราศีสิงห์ ราศีกันย์ ราศีตุล ราศีพฤศจิก ราศีธนู ราศีมกร ราศีกุมภ ราศีมีน (ชื่อราศีเหล่านี้ตามตําราของอินเดีย)
当时间推移至朱拉历1251年牛年,根据阴历的计时方法,属相更替的新年正好和五月初一重叠,但是使用印度的纪年方法不是非常合适,所以就要创立新的方法。按照星象学,当太阳进入白羊宫后,这个时候 正好是泰历新年宋干节,所以就拿星座的名称来为月份命名,就下来的星座分别是金牛宫、双子宫、巨蟹宫、狮子宫、处女宫、天秤宫、天蝎宫、射手宫、摩羯宫、水瓶宫、双鱼宫(这些宫位的名称是根据印度典籍而来的)。




เมื่อนําเอาชื่อราศีมาใช้เป็นชื่อเดือน เราก็เปลี่ยนแปลงรูปคําเสียใหม่ คือนําเอาคําอายน และอาคม มาสนธิ ต่อท้ายคําเดิม เช่น เมษก็เป็น เมษายน (เมษ + อายน) พฤษภ เป็น พฤษภาคม (พฤษภ + อาคม) คําว่า “อายน” และ “อาคม” มีความหมายอย่างเดียวกันว่า “การมาถึง” คือดวงอาทิตย์มาถึงราศีนั้นก็หมายเอาว่าขึ้นเดือนนั้นจึงเรียกชื่อเดือนว่าเช่นนั้น โดยแบ่งเดือนที่มี 30 วันให้ใช้ “อายน” เดือนที่มี 31 วันให้ใช้ “อาคม” มีพิเศษอยู่เดือนหนึ่งมี 28 วัน ให้ใช้ “กุมภาพันธ์” (กุมภ+อาพันธ์ คําว่า อาพันธ์ หมายถึง ผูก ก็หมายอย่างเดียวกันคืออาทิตย์มาถึงราศีกุมภ)
在使用星座来为月份命名之后,就随之使用了新的造词方式,使用了 อายน 和 อาคม 这两个词来进行顺替复合,加在星座名称的后面,例如 เมษายน 是由 เมษ 和 อายน 组成 、พฤษภาคม  是由 พฤษภ 和 อาคม 组成,อายน 和 อาคม 的意思是‘到来’,意味着星座到达哪个月份,30天的月份用 อายน,31天的月份用 อาคม,还剩一个28天的月份,规定为 กุมภาพันธ์(由 กุมภ 和 อาพันธ์ 组成,อาพันธ์ 的意思是‘连结’,意味着太阳到达水瓶宫)。

นักปราชญ์ของไทยท่านเข้าใจดัดแปลงเอาชื่อราศีของอินเดียมาใช้เป็นชื่อเดือนได้อย่างเหมาะเจาะ ผู้ที่มีหน้าที่คิดชื่ออะไรต่างๆ ในสมัยนั้น ก็มีพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นหลักอยู่ คงจะร่วมคิดกับ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ) ซึ่งมีความชํานาญในวิชาโหราศาสตร์ และได้ทรงคิดวิธีปฏิทินไทยใช้ตามสุริยคติกาลนําขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และโปรดให้ใช้เป็นแบบแผนของบ้านเมืองมาตั้งแต่ พ.ศ. 2432 คือปีที่ประกาศใช้ชื่อ เดือนเมษายน พฤษภาคม ฯลฯ
泰国的哲学家们将印度星座的叫法改编成了泰语月份的叫法,履行这个指责的人主要是 Phraya Sisunthonwohan,可能还有精通星相学的德瓦旺社·瓦罗巴甲王子的配合,将设计 的月份名称敬献给了拉玛五世王,从1889年开始使用上述名称。


การเปลี่ยนแปลงใช้วันที่และเดือนตามแบบสุริยคติในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งถือเป็นแบบแผนที่ใช้ในราชการดังกล่าว มีหลักฐานเป็นพระบรมราชโองการเรียกว่าประกาศให้ใช้วันอย่างใหม่ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 4 แรม 12 ค่ำ ปีชวดสัมฤทธิศก จุลศักราช 1250 ตรงกับวันที่ 28 มีนาคม 2431 มีข้อความกล่าวถึงคติทางดาราศาสตร์มากมาย จะคัดมาทั้งหมดก็ยึดยาวไป จะกล่าวเฉพาะที่ตราเป็นพระราชบัญญัติมาพอให้เห็นความสําคัญดังนี้
五世王时期月份的 使用为今天的叫法奠定了基础,当时曾经颁布了关于新式月份称呼的公告,颁布的时间为1888年3月28日,其中涵盖了多条关于星象学的规定,下面是其中一些重要的规定。




“ข้อ 1 ให้ตั้งวิธีนับปีเดือนตามสุริยคติกาลดังว่า ต่อไปนี้ เป็นปีปรกติ 365 วัน ปีอธิกสุรทิน 366 วัน ให้ใช้ศักราชตามปีตั้งแต่ตั้งกรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร มหินทรายุทธยาบรมราชธานีนั้น เรียกว่ารัตนโกสินทรศก ใช้เลขปีในรัชกาลทับหลังศักด้วย…
第一条:使用阳历 纪年的方法,平年365天,闰年366天,并开始采用拉达那哥欣历。
ข้อ 2 ปีหนึ่ง 12 เดือน มีชื่อตามราศีที่เดือนนั้นเกี่ยวข้องอยู่ มีลําดับดังนี้ เดือนที่ 1 ชื่อเมษายน มี 30 วัน…วันในเดือนหนึ่งนั้นให้เรียกว่าวันที่ 1 วันที่ 2…
第二条:一年12个月,月份的 名称以星座名称命名,第一个月是 เมษายน‘四月’,30天;每个月的日期分别叫1号、2号…

ที่ยกมากล่าวข้างต้น เฉพาะหลักสําคัญที่ได้เปลี่ยนแปลงตั้งขึ้นใหม่ ซึ่งสรุปแล้วก็คือ เลิกใช้มหาศักราช จุลศักราช ในทางราชการให้เปลี่ยนมาใช้รัตนโกสินทรศก ตั้งแต่วันจันทร์ เดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ ปีฉลู ซึ่งตรงกับวันอย่างใหม่เป็นวันที่ 1 เมษายน รัตนโกสินทรศก 108 (พ.ศ. 2432) การเรียกวันเป็นวันที่ 1 วันที่ 2 ฯลฯ และเรียกชื่อเดือนว่าเมษายน พฤษภาคม ฯลฯ จึงได้มีขึ้นเป็นครั้งแรกในวันนั้น
上述内容最主要的就是停止使用塞迦历和朱拉历,从1889年4月1日开始使用拉达那哥欣历,每个月的日期叫1号、2号,月份开始称为 เมษายน พฤษภาคม 等等,这样的历时方式在那一天开始被采用。


附12个月的泰-英-中月份表达

มกราคม ( January)一月
กุมภาพันธ์ ( February)二月
มีนาคม ( March)三月
เมษายน ( April)四月
พฤษภาคม ( May)五月
มิถุนายน ( June)六月
กรกฎาคม ( July)七月
สิงหาคม ( August)八月
กันยายน ( September)九月
ตุลาคม ( October)十月
พฤศจิกายน ( November)十一月
ธันวาคม ( December)十二月


知道了来龙去脉,大家以后一定要写对这些单词哦!

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。