不同时期,每个国家首都的称呼都不相侔,例如我们首都北京,现在外国人称之为 Beijing,但在过去也用 Peking 称之。泰国首都曼谷也是一样,今天外国人用 Bangkok 称曼谷,但在过去也有叫曼谷为 Bangkoh、Banckok 等等的,今天泰语君带大家一起来了解下泰国首都曼谷英文名称的历史起源。


บางกอกเป็นชื่อที่เรียกกรุงเทพฯ มาตั้งแต่สมัยอยุธยา ส่วนฝรั่งปัจจุบันเรียก "แบงค็อก" ในหนังสือเรื่อง "เล่าเรื่องบางกอก" ของ ส.พลายน้อย เขียนไว้ว่า "เมื่อได้พูดถึงบางกอกแล้ว ก็ใครจะพูดถึงปัญหาเกี่ยวกับชื่อบางกอกไว้ด้วย เพราะชื่อนี้เป็นปัญหาที่ตัดสินกันไม่ได้ ว่าคำว่า บางกอกมาจากภาษาอะไรกันแน่ และทำไมเรียกว่าบางกอก
自阿瑜陀耶时期起曼谷(กรุงเทพฯ )就被称为 บางกอก,至于现在外国人又将曼谷称为 แบงค็อก,泰国著名传记作家 Sor Plainoi( ส.พลายน้อย )在他的《曼谷之事》一书中这样写道:“当提到曼谷 บางกอก,人人都会想到关于曼谷 บางกอก 一名的问题,因为这个问题始终是个谜,众说纷纭,谁也不知道 บางกอก 到底来自哪个民族的语言,又为什么会用 บางกอก 来称曼谷。”




เรื่องนี้มีผู้สันนิษฐานไว้หลายทาง
关于此事,有许多推测


บางท่านก็ว่า การที่เรียกบางกอกนั้น ก็เข้าใจว่า บริเวณนั้นแต่เดิมจะเป็นป่ามะกอก คือมีต้นมะกอกมากนั่นเอง จึงเอานามของต้นไม้มาเรียกเป็นชื่อตำบลว่า ตำบลมะกอก อาจมาจากการที่แม่น้ำเจ้าพระยาคดเคี้ยวไปมา บางแห่งมีสภาพเป็นเกาะเป็นโคก จึงเรียกกันว่า "บางเกาะ" หรือ "บางโคก" หรือไม่ก็เป็นเพราะบริเวณนี้มีต้นมะกอกอยู่มาก จึงเรียกว่า "บางมะกอก" โดยคำว่า "บางมะกอก" มาจากวัดอรุณ ซึ่งเป็นชื่อเดิมของวัด และต่อมากร่อนคำลงจึงเหลือแต่คำว่า "บางกอก"
一些专家指出,之所以将曼谷称之为 Bangkok,是因为在过去这里曾是一片槟榔青(Makok)树林,便以此树的名字将该地命为 Makok 镇(槟榔青镇),专家还指出,也有可能是因为蜿蜒的湄南河流经,导致这里的一些地形形如岛屿(Koh)、丘陵(Khok),则将其称之为 บางเกาะ(Bangkoh)或 บางโคก(Bangkhok),还有一种可能就是由于这片地周围有许多槟榔青树,就将其称为了 บางมะกอก(BangMakok),BangMakok 一词来自郑王庙,是郑王庙的旧称,后来由于吞音,将 Ma 省去,就只剩下 Bangkok,也就是我们现在所用的 Bangkok 来称曼谷。

ด้านหมอสมิธ มัลคอล์ม ซึ่งเป็นแพทย์หลวง กล่าวไว้ในหนังสือ A Phisician at the Court of Siam ว่าชื่อบางกอกมาจากคำว่า บาง คือหมู่บ้านหนึ่ง กอก ซึ่งเป็นผลไม้ป่าชนิดหนึ่ง (Spondias pinnata) อันเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวยุโรป และว่าชาวโปรตุเกสที่เข้ามาในไทยสมัยศตวรรษที่ 16 เป็นผู้ให้กำเนิดคำนี้
皇家御医史密斯·马尔科姆(Smith Malcolm)在《史密斯眼中的暹罗》一书中说到:“曼谷 บางกอก(Bangkok)中的 บาง(Bang)指的是一个村子,而 กอก(kok)则指的是一种被西方人所熟知的野果——槟榔青,且造这个词的人正是16世纪进入泰国的葡萄牙人。”

แต่ในหนังสือจดหมายรายวันของท่านบาทหลวงเดอ ชวาสี ซึ่งหลวงสันธานวิทยาสิทธิ์ เป็นผู้แปลและเรียบเรียง ได้ให้เหตุผลไว้ว่า บางกอกคือจังหวัดธนบุรี บางแปลว่า "บึง" กอกแปลว่าน้ำ (กลายเป็นแข็ง) หรือน้ำกลับเป็นดินหรือที่ลุ่มกลายเป็นดอน แต่ไม่ได้บอกว่ากอกนั้นเป็นภาษาอะไร
但是在同时身为编译员的神父 Choisy 日记中写道:“บางกอก(Bangkok)实则是吞武里府,บาง(Bang)译为 บึง,有湖、沼泽之意;กอก(kok)则译为水或沼或山丘。”但并未提及 กอก(kok)是来自哪个民族的语言。




สำหรับประเด็นบาทหลวงเดอ ชวาสี ถ้าเพื่อนๆ ได้อ่านเรื่อง เมื่อพันปีที่แล้ว กรุงเทพ เคยอยู่ใต้ทะเล
如果有人读过神父 Choisy 的书,就会知道,千年以前,曼谷还在海下


จะได้เห็นภาพของอ่าวไทยที่กินไปถึงจังหวัด นครปฐม นครนายก ปราจีนบุรี สระบุรี ลพบุรี และสุพรรณบุรี ส่วนกรุงเทพฯ เกิดจากตะกอนทับถมกันเป็นพันปีซี่งน่าจะเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.1600 เป็นต้นมา ก็ทำให้เรื่องราวสอดคล้องกันอยู่บ้าง นอกจากนี้ยังมีบางท่านกล่าวว่าน่าจะมาจากคำว่า Benkok ซึ่งเป็นภาษามลายู แปลตามตัวว่า คดโค้ง หรืองอ อ้างว่าแม่น้ำในบางกอกสมัยก่อนโน้นคดโค้งอ้อมมาก พวกมลายูที่มาพบเห็นจึงพากันเรียกเช่นนั้น อย่างไรก็ตาม ดังได้กล่าวไว้ว่า ความเห็นเหล่านี้คงเป็น "ความเห็น" เท่านั้น
从泰国湾的地图上看,泰国湾的范围到达了今天的佛统府,那空那育府,巴真府,北标府,华富里府和素攀武里府,而曼谷则是由千年的沉淀物堆积而成,猜测曼谷自公元1057年便开始堆积,这种推测与事实也较为相符。另外,还有专家推测说 Bangkok 源于马来语的 Benkok,从字面上看 Benkok 有弯曲、蜿蜒之意,专家还称道,在过去曼谷的河道非常蜿蜒曲折,见到它的马来人便以此意来称呼曼谷,但是不管怎么说,这些都只是推测而已。

ที่น่าสนใจคือนักประวัติศาสตร์ท่านหนึ่งอ่านพบในจดหมายของท้าวเทพสตรีที่มีไปถึงกัปตันไลต์หรือพระยาราชกัปตัน ให้ข้อคิดว่า Bangkok ที่ฝรั่งแต่โบราณเขียนนั้น บางทีเขียนเป็น Bangkoh ซึ่งท่าทางจะอ่านว่าบางเกาะ ซึ่งก็สอดคล้องกับบันทึกหนึ่งที่กล่าวว่า บางกอก หมายถึง พื้นที่ที่เป็นเกาะ ครับ เนื่องจากการขุดคลองลัดในสมัยพระชัยราชาธิราช คือ ขุดจากบริเวณสะพานปิ่นเกล้าลงไปจนถึงหน้าวัดอรุณฯ ทำให้พื้นที่ทางฝั่งธนฯ ในปัจจุบันกลายสภาพ เป็นเกาะ ต่อมาจึงเรียกว่า บางเกาะ
较为有趣的是,一位历史学家在普吉岛巾帼英雄 Chan 与英国莱特船长往来的信件中发现,西方人自古以来就将曼谷写成 Bangkok,有时也会写成 Bangkoh(它来自泰语的 บางเกาะ),这一点就和说“บางกอก”译为岛屿的记载相符,由于在阿瑜陀耶王朝第十三代国王统治时期时,曾从 Pin Klao 大桥附近挖过一条运河到郑王庙庙前,这就使得现在的吞武里一岸的地形成为了岛屿,随后就将其称为了 Bangkoh(บางเกาะ)




สมัยต้นกรุงศรีอยุธยา กรุงเทพฯ ยังเป็นเพียงหมู่บ้านที่เรียกกันว่าบางกอก มีชื่อเสียงทางด้านปลูกผลไม้ และมีหลักฐานจากวัดเก่า ๆ หลายวัด ว่าสร้างมาก่อนกรุงศรีอยุธยาเสียอีก
阿瑜陀耶王朝初期,曼谷仅仅是一个叫做 บางกอก(Bangkok)的村子,以种植水果而闻名,除此以外还有许多寺庙的记载可以说明,事实上,曼谷比阿瑜陀耶城建立的时间更早。


ในแผนที่และเอกสารของชาวตะวันตก ปรากฏชื่อเขียนต่าง ๆ กัน เช่น Bancoc, Bancok, Banckok, Bankoc, Banckock, Bangok, Bancocq, Bancock ส่วนคำว่า Bangkok เป็นคำที่สังฆราชฝรั่งเศสใช้เขียนรายงานไปยังสำนักงานใหญ่ที่กรุงปารีสเป็นประจำ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระอักษรไปถึงพวกฝรั่งก็ทรงใช้คำนี้ จึงได้ถือเป็นคำทางการตลอดมา
在西方的资料和地图里,曼谷有各种各样的英文名,例如 Bancoc, Bancok, Banckok, Bankoc, Banckock, Bangok, Bancocq, Bancock,而 Bangkok 一词则是法国僧王向巴黎总部做报告中常用到的曼谷名,后来当泰国拉玛五世国王向西方写信件时,也使用 Bangkok 作为曼谷英文名,于是便将此词作为了曼谷的官方英文名。

‘บางกอก’ เคยเป็นที่ตั้งของด่านภาษี ซึ่งพ่อค้าชาวฮอลันดาได้บันทึกไว้เมื่อปี ๒๑๖๐ - ๒๑๖๑ ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม กล่าวถึงบางกอกไว้ว่า
“曼谷(บางกอก)”曾是泰国古时市舶司所在处,公元1617—1618年间荷兰商人曾对此市舶司有所记录,这一时期正是泰国素可泰王朝第五代国王在位期间,记载道:

“จากปากน้ำเข้าไป ๕ ไมล์ เป็นที่ตั้งของเมืองล้อมรอบด้วยกำแพงมีชื่อว่า บางกอก ณ ที่นี่เป็นที่ตั้งของด่านภาษีแห่งแรก เรียกว่า ขนอนบางกอก (Canen Bangkok) ซึ่งเรือและสำเภาทุกลำไม่ว่าจะมาจากชาติใดก็ตาม จะต้องหยุดจอดทอดสมอ และแจ้งให้ด่านนี้ทราบก่อนว่าจะเข้ามาเพื่อจุดประสงค์อันใด...
“从河口再往里五英里,便是一座四周都被墙所包围的城市,名叫曼谷(บางกอก),这里是泰国境内第一座市舶司的所在处,名为曼谷市舶司(Canen Bangkok),所有来往的船只不管来自于哪个国家,都必须抛锚停泊下来,待询问来意之后方可放行进入。”



ลาลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้บันทึกไว้ในจดหมายเหตุว่า
泰国那莱大帝统治时期,曾有一位法国外交官西蒙·德·拉卢贝尔(ลาลูแบร์)在档案中记载道:
“สวนผลไม้ที่บางกอกนั้น มีอาณาบริเวณยาวไปตามชายฝั่งแม่น้ำ โดยทวนขึ้นไปสู่เมืองสยาม (หมายถึงกรุงศรีอยุธยา) ถึง ๔ ลี้ กระทั่งจรดตลาดขวัญ ทำให้เมืองหลวงแห่งนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยผลาหารซึ่งคนพื้นเมืองชอบบริโภคกันนักหนา”
“曼谷果园,从河岸延伸到阿瑜陀耶城,长8里(4千米),一直到达 Kwan 市场为止,这也让这座城市的百姓得以有丰富的水果食用。”

บาทหลวงตาชาร์ด ซึ่งเข้ามาในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์เช่นกัน บันทึกไว้ว่า
曾同样在泰国那莱大帝统治时期访泰的塔尔查神父,记载道:
“...และโดยที่บางกอกเป็นเมืองสวนของประเทศสยาม ซึ่งมีผลไม้รสเยี่ยมทั่วราชอาณาจักรมารวมกันอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ เขาจึงนำมาให้เป็นของกำนัลแก่เราเข่งหนึ่ง...”
“曼谷作为暹罗国的果园城市,云集全国优质水果,因此国王也会以水果作为礼品,赏赐给我们一筐。”

สมัยกรุงธนบุรี สวนผลไม้ของบางกอกได้ขยายไปถึงตำบลบางช้าง สมุทรสงคราม มีคำพูดกันว่า “สวนในเรียกบางกอก สวนนอกเรียกบางช้าง” และยังแบ่งเป็น ‘บางบน’ กับ ‘บางล่าง’ โดยอยู่เหนือพระราชวังก็เรียก ‘บางบน’ อยู่ใต้ลงไปเรียก ‘บางล่าง’ ผลไม้ของบางกอกฝั่งธนบุรี มีรสชาติขึ้นชื่อเป็นย่าน ๆ เช่น ทุเรียนบางบนมีรสมันมากกว่าหวาน ทุเรียนบางล่างมีรสหวานมากกว่ามัน มะปรางท่าอิฐ เงาะบางยี่ขัน ลิ้นจี่บางอ้อ ขนุนบางล่าง ลำไยบางน้ำชน กระท้อนคลองอ้อม ฝรั่งบางเสาธง เงาะ - ลางสาดคลองสาน ละมุดสีดาราษฎร์บูรณะ ส้มเขียวหวานบางมด สวนฝั่งตะวันออกแถวตรอกจันทร์ ถนนตก ก็ขึ้นชื่อเรื่องลิ้นจี่และลำไย
吞武里时代,曼谷的果园已扩展到夜功府的邦昌(บางช้าง/Bangchang)镇,并且有言道:“果园里面,叫曼谷;果园外面,称邦昌”,还有将其分为“邦上”(บางบน)与“邦下(บางล่าง)”,位于宫殿北方的则为“邦上”,位于宫殿南方的则为“邦下”。吞武里一岸的水果,以其美味闻名四方,例如“邦上”的榴莲香腻,“邦下”的榴莲则更香甜,Oed 港的缅甸波漆,Bangyikhan 的红毛丹,Bang-o 的荔枝,“邦下”的菠萝蜜,Bangnamchon 的龙眼,klongom 的山陀儿,Bangsaltong 的番石榴,Klongsan 的龙宫果与红毛丹,Sida Ratburana 的人心果,Bangmot 的橘子,而 Tok 路 Trokchan 附近东岸的果园,也因其龙眼和荔枝而远近闻名。



ในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มมีชาวตะวันตกเข้ามา หลังจากขาดหายไปตั้งแต่สิ้นแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สังฆราชปาเลอกัว ซึ่งเข้ามาในปี ๒๓๗๓ ได้บรรยายภาพของกรุงเทพฯ ขณะย่างก้าวเข้ารับวัฒนธรรมตะวันตกไว้ว่า
自那莱大帝统治时期末西方人消失在泰国疆域后,直至曼谷王朝拉玛三世时期,方有西方人进入,公元1830年,让·巴蒂斯特·帕莱戈僧王在描述曼谷接受西方文化的图景说到:

“กรุงเทพฯ ตั้งอยู่ท่ามกลางสวนที่อุดมสมบูรณ์เขียวชอุ่มตลอดปี จึงงามเหมือนภาพวาด กลุ่มเรือใบประดับธงจอดเป็นทิวแถวตามสองฝั่งแม่น้ำ ยอดแหลมหุ้มทองของมณฑปและโครงสร้างอันสวยงามของพระปรางค์ ที่มีการประดับอย่างสวยงามด้วยกระเบื้องเคลือบหลากสี ลอยสูงเด่นอยู่ในอากาศ ยอดเจดีย์หุ้มทองประดับกระเบื้องหลากสีสะท้อนแสงเหมือนสีรุ้ง เบื้องหน้าของท่านจะมองเห็นร้านค้าบนเรือนแพจำนวนนับพันเรียงเป็นสองแถวยาวตามริมฝั่งแม่น้ำ มีเรือสวยงามแล่นตัดข้ามฟากไปมา ตลอดความยาวของลำน้ำอันคดเคี้ยว ป้อมสีขาวคล้ายหิมะ ตัวเมืองซึ่งมีหอคอยแลประตูมากมาย ลำคลองที่ตัดผ่านไปรอบเมือง ยอดแหลมของปราสาทราชมณเฑียรในพระบรมมหาราชวัง สามารถมองเห็นได้จากทั้งสี่ทิศ มีอาคารแบบจีน อินเดีย และยุโรป เสื้อผ้าอาภรณ์ที่แตกต่างกันไปของแต่ละชาติ เสียงดนตรี เสียงเพลงจากโรงละคร ความเคลื่อนไหวของชีวิตในเมือง สิ่งเหล่านี้ทำให้ชาวต่างชาติมองด้วยความชื่นชมและพิศวง...”
“曼谷位于苍翠茂盛、郁郁葱葱的果林之中,犹如画中景,两岸帆船停靠,佛殿金顶以及 Prang 塔都由五彩斑斓的瓦片装饰,高高耸立在空中,美妙绝伦,佛塔被色彩斑斓的瓦片点缀,发散着彩虹般的光芒。再往前看,你将会看见两岸船屋上成百上千的商铺,江上的小船从另一岸行驶而来,那蜿蜒连绵的航道,还有犹如皑皑白雪的碉堡。城中有数不胜数的塔楼和城门,城墙旁运河环绕,皇宫里的宫廷飞檐翘角,从四面八方都可以看到,这里有中式、印度风格以及欧洲风格的建筑,炯炯不同的各国服饰,剧院里的乐声、歌声阵阵传来,萦绕耳畔,城中人们熙熙攘攘,这些都无一不让外国人叹为观止。”




ในขณะนั้น กรุงเทพฯ ไม่มีรถยนต์สักคันเดียว ใช้กันแต่การสัญจรทางน้ำ แม่น้ำและลำคลองเป็นเหมือนถนนอันจอแจ มีเพียงใจกลางเมืองและย่านตลาดเท่านั้นที่มีถนนปูด้วยอิฐแผ่นใหญ่ ๆ แต่ก็เป็นถนนสำหรับคนเดิน
当时,曼谷还未有汽车,交通运输只有走水路,于是运河就好比一条拥挤的马路,而在当时的曼谷,只有城中心和市场周围有用砖块铺砌的路,专供行人行走。


ส่วนถนนสำหรับรถสายแรกเกิดขึ้นสมัยรัชกาลที่ ๔ ในปี ๒๔๐๐ เมื่อกงสุลอังกฤษ ฝรั่งเศส อเมริกา และนายห้างต่างประเทศได้ร้องว่า เรือสินค้าที่ต้องขึ้นมาถึงกรุงเทพฯ นั้น เสียเวลามาก เพราะแม่น้ำคดเคี้ยว และไหลเชี่ยวในฤดูน้ำหลาก หากลงไปตั้งห้างแถวปากคลองพระโขนง แล้วขุดคลองลัดมาเชื่อมกับคลองผดุงกรุงเกษมจะสะดวกขึ้นมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองแยกจากจากคลองผดุงกรุงเกษม ผ่าทุ่งหัวลำโพงเป็นเส้นตรงไปบรรจบคลองพระโขนงที่ใกล้ปากคลอง นำดินขึ้นมาถมด้านเหนือเพียงด้านเดียว พูนดินเป็นถนนคู่ขนานกันไป เรียกกันว่า ‘คลองตรง’ และ ‘ถนนตรง’ แต่ชาวบ้านเรียกกันว่า ‘คลองหัวลำโพง’ และ ‘ถนนหัวลำโพง’ ซึ่งนับเป็นถนนสายแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ จึงพระราชทานนามใหม่ให้ถนนหัวลำโพงในวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๒ ว่า ‘ถนนพระรามที่ ๔’ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนสายนี้
泰国境内第一条汽车马路修建于公元1857拉玛四世时期,那时,英国、法国、美国的领事还有各国的洋行老板纷纷诉说:“来往曼谷的商船,因为河道蜿蜒,波涛汹涌,所以耗时太长,如果将洋行等建在 Phra Khanong 运河(คลองพระโขนง)河口处,然后再挖一条人工运河与 Phadung Krung Kasem 运河(คลองผดุงกรุงเกษม)相连,此举将更为方便。”于是他们便奏请国王,让挖一条从 Phadung Krung Kasem 运河(คลองผดุงกรุงเกษม)分流出来的运河,与运河口附近的 Phra Khanong 运河(คลองพระโขนง)直线汇合,拿土将其北面填上,堤岸与运河平行,此运河就被称为“Khlong Trong(คลองตรง)”,这条路也就叫做“Trong 路(ถนนตรง)”,但是本地人还是称它们为“华南蓬运河”以及“华南蓬路”,这便成了曼谷王朝的第一条真正的马路。后来拉玛六世在公元1919年2月16日赐名此条路为“拉玛四世路”,以纪念这条路的创造者拉玛四世王。



เมื่อขุดคลองถนนตรงให้ตามคำขอแล้ว ก็ไม่ปรากฏว่ามีบริษัทห้างร้านของชาวตะวันตกย้ายไปอยู่ที่ปากคลองพระโขนงตามที่อ้างเลย ต่อมาในปี ๒๔๐๔ ชาวตะวันตกเหล่านั้นก็เข้าชื่อกันกราบบังคมทูลอีกว่า
当运河和路都修好了之后,那些之前借说要在 Phra Khanong 运河(คลองพระโขนง)河口处建商行的西方人却并未那么照做,后来公元1861年,那些西方人又上奏说:

“ชาวยุโรปเคยขี่รถ ขี่ม้า เที่ยวตากอากาศได้ตามสบาย ไม่มีเจ็บไข้ เข้ามาอยู่ที่กรุงเทพพระมหานคร ไม่มีถนนหนทางที่จะขี่รถขี่ม้า พากันเจ็บไข้เนือง ๆ ...”
“欧洲人曾骑车、骑马、晒太阳,不曾生病,但是来到曼谷,没有路给骑车、骑马,因此病痛不止......”

ด้วยเหตุนี้จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนสายใหม่ตามคำขออีก โดยเริ่มจากคลองรอบกรุงตรงสะพานดำรงสถิตที่สามยอดในปัจจุบัน ไปเชื่อมกับถนนตรงที่คลองผดุงกรุงเกษมตรงหัวลำโพง สายหนึ่ง แล้วตัดแยกจากถนนใหม่นี้ที่เหนือวัดสามจีน (วัดไตรมิตร) ตรงไปจนตกแม่น้ำที่บางคอแหลม อีกสายหนึ่ง จุดที่แยกออกเป็น ๒ สายนี้ เรียกกันว่า ‘สามแยก’ การสร้างถนนสายนี้นับเป็นสายแรกที่ใช้วิทยาการตะวันตก เรียกกันว่า ‘ถนนใหม่’ ชาวตะวันตกเรียก ‘นิวโรด’ ต่อมาจึงพระราชทานนามว่า ‘ถนนเจริญกรุง’
由于这个原因,便又再修造了新的马路,这条新马路是从现在 Sam Yot 处的 Damrong Sathit 大桥对面的护城河开始修建,一直连到华南蓬对面 Phadung Krung Kasem 运河(คลองผดุงกรุงเกษม)前的 Trong 路(ถนนตรง),这是一条,后来又从 Wat Sam Jeen 寺庙北面处的这条新路上分叉修到曼柯廉(Bang Kho Laem)的河流处,这又是一条路了,这两条路的岔口就被叫做“Sam Yak”,这条马路是泰国首次运用西方技术修建的路,被叫做“新路(ถนนใหม่/Mai Road)”,而西方人则称其为“New Road”,后来国王又将这条路命名为了“石龙军路(ถนนเจริญกรุง)”



ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงเกิดถนนและสะพานขึ้นมากมายสำหรับรถยนต์ แต่ก็ยังไม่ทิ้งคลอง มีการขุดเชื่อมหัวเมืองใกล้เคียงขึ้นอีกหลายคลอง บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองขึ้นมากในรัชกาลนี้
到了拉玛五世时期,泰国便有了许多可供汽车通行的路和桥,但是仍没有将运河置弃,还有挖许多运河与城中心相连,这个时期的泰国格外繁荣。



ย่านการค้าที่คึกคักที่สุดในยามนั้น ได้แก่ ย่านเยาวราช ซึ่งเป็นชุมชนของคนจีน มีท่าเรือที่ถนนทรงวาด ย่านบางรักเป็นชุมชนของชาวยุโรป เป็นที่ตั้งของสถานทูต และมีท่าเรือตลอดถนนตก ส่วนบางลำพูเป็นย่านการค้าของคนไทย มีสินค้าที่ข้ามมาจากฝั่งธนบุรีและจากหัวเมืองทางแม่น้ำ
当时最繁华的商业区就是:中国人居住的耀华力路,那有位于 Song Wat 路的港口;欧洲人居住的挽叻县,那是领事馆所在地,并且还有位于 Tok 路的港口,至于邦兰铺就是泰国人自己的商业区了,那有来自泰国国内各城市和吞武里一岸的商货。

กรุงเทพฯ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทั้งจำนวนประชากรและสภาพบ้านเมือง โดยเฉพาะในช่วงก่อนปี ๒๕๔๐ ที่ฟองสบู่แตก มองไปทางไหนในกรุงเทพฯ ก็เห็นแค่เครนยักษ์กำลังสร้างตึก ขณะเดียวกัน นักท่องเที่ยวหลายทวีปต่างก็ตั้งเป้าหมายปลายทางมาที่กรุงเทพฯ จนเป็นเมืองอันดับ ๒ รองแต่กรุงลอนดอนเท่านั้น ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวมาเยือนมากในรอบปี
曼谷自第二次世界大战后,人口数量和城市环境都发生了迅速的改变,尤其是在1997年泡沫经济前,环顾曼谷四周,到处都是起重机在造楼,还有来自各大洲的游客也纷纷将曼谷作为旅游的最终目的地,使得曼谷成为了仅次于伦敦的拥有全年游客最多的第二大城市。




每个城市都有它的故事,而名字则是了解这个城市背后故事的开始。曼谷,一座天使之城,背后还有许多故事值得我们去发掘,有机会一定要去曼谷一次,感受它的魅力和热情。

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自sanook,图片来自图虫,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。