泰国地名都一定是泰语吗? 扒一扒曼谷那些马来语地名
根据大家的常识,要给一个地方命名,最首选的肯定是当地的语言,泰国的大部分地名是泰语,中国大部分的地名也应该是中文,但实际情况很多时候都不是这样的,由于文化的交融,很多地方都会出现许多看起来有点奇怪的地名,曼谷就有很多地方的名字对于当地人来说不同寻常,这其中很多地方都是用马来语命名的,到底怎么回事,一起去看看吧!
ชื่อบ้านนามเมืองจำนวนหนึ่งในปริมณฑลของกรุงเทพมหานครปัจจุบัน หรือรอบเมืองบางกอกโบราณ เมื่อพยายามสอบสวนอย่างละเอียดมีความหมายในภาษามลายูและเข้ารูปกับสถานที่ ดังชื่อบ้านนามเมืองดังต่อไปนี้
现今曼谷及其周 边范围或曼谷老城附近的一些地名,当仔细调查后发现可以找到马来语的含义,地名还和地区形状息息相关,这些地名如下:
บางคอแหลม
Bang Kho Laem
มาจากภาษามลายูว่า kolam ออกเสียงตาม Bahasa Melayu หรือภาษามลายูปัจจุบันที่ใช้ในประเทศมาเลเซียว่า โกลัม แปลว่า สระ, อ่างเก็บน้ำ (จืด)
来自马来语kolam,根据Bahasa Melayu或当代马来西亚使用的马来语为โกลัม /koo1lam1/,意思是湖泊、淡水蓄水池。
บางโคล่
Bang Khlo
มาจากภาษามลายูว่า koléh ออกเสียงตามภาษามลายูปัจจุบันว่า โกและฮ์ แปลว่า แป้งสาคู ด้วยริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณนี้เคยมีการทำแป้งสาคู เพราะมีต้นสาคูมาก
来自马来语koléh,根据当地马来语的发音为/koo1lae4/,意思是西米面粉,原因是在湄南河流经的这一带曾经种植过很多西米树,从事过西米面粉的制造产业。
บุคคโล
Bukkhalo
มาจากภาษามลายูสองคำ คือ bukat ออกเสียงว่า บูกัต แปลว่า (กระแสน้ำ) วน กับคำว่า lolok ออกเสียงว่า โลโลก แปลว่า (กระแสน้ำ) วน เป็นคำคู่ด้วยทั้งสองคำมีความหมายเดียวกัน bukatlolok ซึ่งออกเสียงว่า บูกัตโลโลก กร่อนเสียงเป็น บุคคโล ชื่อที่มีความหมายว่า เป็นที่มีกระแสน้ำวน ด้วยบริเวณนี้มีวัดบางน้ำชนกับคลองบางน้ำชนอยู่ให้เป็นประจักษ์พยาน
来自两个马来语词汇,分别是bukat,发音为/buu1kat2/,意思是(水流)回旋,和lolok。发音为/loo1look3/,意思是(水流)回旋,结合了两个意义相同的词, bukatlolok的发音为/ buu1kat2 loo1look3/,发音简化为/buk2kha4loo1/,意思是水流回旋的地方,在这一带有Wat Bang Nam Chon寺和 Bang Nam Chon运河作为见证。
จระเข้บัว
Chorakhe Bua
มาจากคำคู่ระหว่างภาษาไทยกับภาษามลายู จระเข้สายพันธุ์บัวไม่มีในโลก แต่คำว่าบัวกร่อนมาจากคำว่า buaya ออกเสียงว่า บัวยา ในภาษามลายู
是泰语和马来语词汇 的结合,世上没有荷花属的鳄鱼,但是บัว这个词是由马来语词汇buaya /bua1yaa1/简化而来的。
คำเรียกจระเข้ว่า buaya และ baya ในภาษามลายู ยังอาจเป็นที่มาของชื่อแม่น้ำเจ้าพระยา เพราะคำว่า jayabaya ซึ่งออกเสียงว่า จายาบายา แปลว่า ชนะจระเข้ (jaya แปลว่าชัย, ชนะ) ชื่อบ้านนามเมืองของชาติพันธุ์มลายูที่เกี่ยวข้องกับคำเรียกจระเข้มีจำนวนมาก เช่น เมืองใหญ่ที่ตั้งอยู่ปากแม่น้ำใหญ่ ชื่อเดียวกันบนเกาะชวากลาง ชื่อว่า surabaya ออกเสียงว่าสุราบายา แปลว่า ไม่กลัวจระเข้ (sura แปลว่า กล้าหาญ, ไม่กลัว)
马来语将鳄鱼叫做buaya和baya的说法还可能是湄南河名字的来源,因为jayabaya /chaa1yaa1baa1yaa1/的意思是战胜鳄鱼(jaya的意思是胜利),马来人很多地名都 和鳄鱼相关,例如位于河口的城市泗水surabaya的意思是不畏惧鳄鱼(sura意思是勇敢,不畏惧)。
แม้ว่าแม่น้ำใหญ่ทั้งสองอาจมีชื่อมีที่มาในทำนองคล้ายกัน แต่ไม่อาจนำไปสนับสนุนสมมติฐานเรื่องการอพยพของชนชาติไทย ว่ามาจากเกาะชวา ของนายแพทย์สมศักดิ์ พันธุ์สมบุญ ในการค้นควาเรื่องการอพยพของชนชาติไทยโดยการศึกษากลุ่มเลือด (A Bioserologigal Consideration of the Migration of the Thai Race) ซึ่งตีพิมพ์ใน Journal of the Siam Society, ฉบับที่ ๔๕ ตอนที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ หน้า ๖๕ เพราะชื่อบ้านนามเมืองที่มีที่มาจากภาษามลายูกระจัดกระจายไปทั่วทั้งสองฟากบนแหลมมลายูของประเทศไทย
虽然两条河流的名称来源类似,但是也不能证明Samsak Pansombun提出的泰族是从爪哇岛迁移过来的假说。Samsak Pansombun在分析泰族起源时在《A Bioserologigal Consideration of the Migration of the Thai Race》论文(p65,发表于《Journal of the Siam Society》第45期第二段10月,1975年)中提到这一假说,原因是在泰国马来 半岛的两侧分散着很多以马来语命名的地点。
หัวลำโพง
Hua Lamphong
มาจากคำผสมระหว่างคำว่าขัว ในภาษาไทย ซึ่งแปลว่า สะพาน กับคำว่า lampung ในภาษามลายูออกเสียงว่าลำพุง แปลว่า ชั่วคราว, ลอย ขัวลำพุงคือสะพานชั่วคราว (ทอดข้ามหรือลอยในลำน้ำ) กลายเป็นหัวลำโพง สะดวกการออกเสียงของคนไทยไปในที่สุด
混合了泰语 词汇ขัว /khua5/ ‘桥’和马来语中的 lampung ‘暂时的、漂浮’,ขัวลำพุง的意思就是暂时的桥(越过水面或浮与水面上的桥),最后变成了หัวลำโพง,最符合泰国人的发音方式。
ใกล้กับหัวลำโพงขึ้นไปทางทิศเหนือ มีชื่อถนนคลองลำปัก (เขียนตามป้ายชื่อถนนของกรุงเทพมหานคร) ซึ่งน่าจะชื่อว่าถนนคลองลำบัก เพราะลำบักมาจากภาษามลายูว่า lambak แปลว่า กอง (สิ่งของต่างๆ ฯลฯ) ส่วนคำว่าลำปักไม่มีในภาษามลายู
在北边还有一个和Hua Lamphong很接近的地名,那就是Khlong Lampak路(按照曼谷路牌书写),应该是叫做Khlong Lambak路,因为ลำบัก/lam1bak2/也是来自马来语的词汇,意思是‘堆(各种东西)’,马来语中没有ลำปัก /lam1pak2/这个词
บางพลัด
Bang Phlat
มีที่มาจากภาษามลายูว่า palas ออกเสียงว่า ปาลัส คือ ต้นกะพ้อ เป็นพืชในสกุลปาล์ม ชอบขึ้นในที่ลุ่ม ใบใช้ทำขนมต้ม ขนมโบราณของไทยและชาติพันธุ์ละแวกนี้
来自 马来语中的palas一词,发音为/paa1lat4/,意思是刺轴榈,是棕榈科的一种植物,喜欢在低地生长,叶子可以用来制作一种传统泰式或当地的点心。
ใกล้ๆ กับบางพลัดมีชื่อบางบำหรุ คำว่าบำหรุมาจากภาษามลายูว่า baruh ออกเสียงว่า บารุฮ์ แปลว่าที่ลุ่มใกล้แม่น้ำหรือทะเล สามเสนซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับบางพลัด มีที่มาจากภาษามลายูเช่นกัน
离Bang Phlat很近的还有一个叫Bang Bamru的地方,来自马来语baruh一词,发音为/ba1ru4/,意思是离河流或大海很近的洼地,在Bang Phlat对岸的Sam Sen也是来自马来语的 地名。
แม้แต่ชื่อบางกอก อาจมาจากคำในภาษามลายู beléngkok ออกเสียงว่า เบอแลงกอก แปลว่า คุ้งน้ำ ทั้งอาจเป็นที่มาของชื่อบางปะกอกได้ด้วย
就连Bangkok这个词也可能是来自马来语的beléngkok,发音为/bɜɜ1lææŋ1kɔɔk2/,意思是河道,也可能是Bang Pakok这一地方名字的来源。
ชื่อบ้านนามเมืองในปริมณฑลกรุงเทพมหานครอีกหลายแห่งที่อาจสันนิษฐานได้ว่ามาจากภาษามลายูไม่สามารถค้นหาได้ว่ามีมาแต่ครั้งใด หากชื่อบ้านนามเมืองดังกล่าวมาจากภาษามลายูตามสันนิษฐานและรู้ถึงระยะเวลาการเกิดอาจทำให้เรื่องราวการกำเนิดราชอาณาจักรอยุธยากลุ่มรัฐสยามโบราณริมอ่าวไทย ขอบเขตอิทธิพลของศรีวิชัย ฯลฯ กระจ่างขึ้น
曼谷及其附近还有很多地名可能都是来自马来语,但是无法查证是什么时候被命名的,如果上述的地名真的是从马来语借用过来,并且知道明确的命名时间,就可以让阿瑜陀耶王朝的诞生、泰国湾沿岸政权以及三佛齐王国的权利范围等问题更清晰。
原来大名鼎鼎的华南蓬也和马来语有关系呀,真的是长知识了!
声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。