泰国公交车大考古 你知道泰国的这些“古董”都是怎么来的吗?
如果你去过曼谷的话,就一定会被穿梭在大街小巷的公交车“吓”到,让你怀疑这真的是21世纪吗?那些古董不在博物馆里却在路上飞驰?曼谷的这些公交车其实可都是实实在在的古董,见证了曼谷的发展史,今天就让我们好好来认识一下泰国的公交车。
ย้อนประวัติศาสตร์กว่า 136 ปีของการกำเนิด รถเมล์ไทย จากเดิมที่เป็นเพียงรถเทียมม้ามีคนเก็บเงินค่าโดยสาร ก็ค่อย ๆ พัฒนามาเป็นรถเมล์ถ่าน รถสองแถว และสร้างเป็นระบบการเดินรถประจำทาง จนนำมาสู่การก่อตั้ง องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก.
时间倒回 到136年前,在泰国公交车产生之前,只有收收费员的人力马车,慢慢发展成了烧炭的公交车、双条车,建立起了线路固定的行车系统,后来还成立了曼谷大众运输机构。
พ.ศ. 2428 ระบบ รถเมล์ไทย เริ่มจากการใช้ รถเทียมม้า ใช้แรงของม้าลาก ไม่ใช่เครื่องยนต์แรงม้าใด ๆ รถเทียมม้า เริ่มมีในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ พ.ศ.2428 เป็นรถเทียมม้า 1คู่ มีคนขับ1 คนทำหน้าที่เป็นคนเก็บเงินค่าโดยสารด้วยเลยข้อเสียของรถเมล์เทียมม้ายุคแรกคือ เป็นรถโดยสารที่ให้บริการแบบไม่มีตารางเวลาแน่นอน แต่จะหยุดตามสถานที่สำคัญ บางครั้งจอดรอผู้โดยสารนานเป็นชั่วโมง อีกทั้งระหว่างผู้โดยสารอาจจะแวะลงไปหาอะไรกิน กว่าจะถึงปลายทางก็อาจจะใช้เวลาร่วม 6 ชั่วโมง ก็เป็นได้
1885年,泰国的公交车系统开始使用马车,用马来拉车,而不是使用任何的机器马力,马拉车于1885年在曼谷出现,用成对的马拉车,有一个人驾车同时负责收取乘车费,因此当 时的马拉车的一个缺点就是时间不固定,而是在各个重要的站点停车,有时要在某些站点停车等人超过一个小时。另外,乘客也有可能半路下车吃东西,到终点的时候甚至可能会超过6个小时。
พ.ศ. 2430 หลังจากรถเทียมม้าบริการได้เพียง 2 ปีกรุงเทพฯ ก็เริ่มมีบริการ รถราง ซึ่งกลายเป็นรถโดยสารประจำทางยอดฮิตของคนหนุ่มสาว และทำให้รถเทียมม้าถูกยกเลิกไป
1887年,当马 拉车作为公交车在曼谷仅仅使用了两年,就开始出现了有轨车,是当时年轻男女们非常喜爱的公交车,这使得马拉车被弃用。
พ.ศ. 2452 รถเมล์เทียมม้า หรือรถเทียมม้าแบบดั้งเดิมได้กลับมาเปิดให้บริการแก่ผู้โดยสารอีกครั้ง โดยเจ้าของกิจการคือ พระยาภักดีนรเศรษฐ (เลิศ เศรษฐบุตร)โดยครั้งนี้มี “ป้าย” หรือจุดจอดรับ-ส่งผู้โดยสารชัดเจนให้บริการระหว่างสะพานกษัตริย์ศึก(สะพานยศเส) ไปถึงประตูน้ำ เขตปทุมวัน
1909年 ,原始的马拉车又开始为乘客服务,老板是Lert Sreshthaputra,这次的马拉车有明确的站牌,在Kasat Suk大桥到Phatum Wan区的水门之间运营。
พ.ศ. 2456 รถเมล์เทียมม้าสายสะพานยศเส-ประตูน้ำให้บริการมา 4 ปีก็พัฒนาเปลี่ยนมาเป็นรถเมล์สองแถว โดยใช้รถยนต์ยี่ห้อฟอร์ด จากสหรัฐอเมริกา ติดหลังคา และทำที่นั่งเป็น 2 แถวชาวบ้านเรียกติดปากว่า รถนายเลิศ หรือ รถเมล์ขาว ลักษณะของรถเมล์นายเลิศคือ ทาสีขาว มีกากบาทสีแดง นั่งได้ประมาณ 10 คน หลายคนเรียกติดปากว่า อ้ายโกร่ง เพราะวิ่งไปตามถนนมีเสียงดังโกร่งกร่างจากนั้นก็มีรถเมล์ที่เป็นรถออสติน สาย 101 เส้นทางพระโขนง-กษัตริย์ศึก
1913年,在Kasat Suk大桥到Phatum Wan区水门之间的马拉车运营了4年之后就改成了双条车,使用的是美国福特公司的汽车,搭起棚子,装了两排座位,民众把它称为Lert先生车或者白公交,它的特征就是涂成白色,有红色的叉号,可以乘坐大约10人,很多人习惯叫做“研钵”,因为在运行的时候会发出“噔噔”的声音,后来就有了奥斯汀汽车作为101路公交车,在Phra Khanong到Kasat Suk之间运营。
พ.ศ. 2476 กิจการรถเมล์เริ่มเป็นปึกแผ่น เศรษฐีชาวจีนเริ่มเล็งเห็นว่า การประกอบการเดินรถโดยสารประจำทางเป็นอาชีพที่มั่นคงและทำรายได้ดีอย่างหนึ่ง จึงได้ก่อตั้ง บริษัทเดินรถโดยสารประจำทางขึ้นชื่อ บริษัท ธนนครขนส่ง จำกัด ให้บริการเดินรถจากตลาดบางลำพู ถึงวงเวียนใหญ่ หลังจากนั้นได้มีผู้ลงทุน ตั้งบริษัทรถโดยสารประจำทาง เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนี้ รัฐวิสาหกิจและราชการก็ทำการเดินรถด้วย คือ เทศบาลนครกรุงเทพฯ เทศบาลนนทบุรี บริษัท ขนส่ง จำกัด องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ และยังมีบริษัทเอกชนอีก 24 บริษัท รวม ๆ แล้วผู้ประกอบการเดินรถโดยสารประจำทางในกรุงเทพฯ มีมากถึง 28 ราย
1933年,泰国的公交车事业开始稳固下来,华人富豪觉察到了做公交车行业是一种高回报且稳定的事业,所以建立了一个名为Thon Nakhorn运输有限公司的公交车公司,运营从Bang Lamphu市场到Wongwian Yai的公交车线路。后来又不断有投资者投资到公交车行业,建立了公交车运输公司。除此之外 ,政府和皇室也在进行相关的产业运作,例如曼谷、暖武里市政运输有限公司,负责商品和货物的运送。还有24家民营公司,曼谷运营公交车的公司多大达28家。
พ.ศ. 2490 รัฐเปิดสัมปทานการเดินรถประจำทางให้แก่รถเมล์นายเลิศ พร้อมกันนั้นก็มีคู่แข่งคือ รถเมล์บุญผ่อง โดย นายบุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์ เป็นบริษัทเอกชนอีกแห่งที่ได้รับสัมปทานจากรัฐให้ดำเนินกิจการรถเมล์หรือรถโดยสารประจำทางในกรุงเทพมหานคร ที่มาของรถเมล์บุญผ่องนั้นทายาทของเขาเล่าเกร็ดไว้ว่าเป็นรถเมล์ที่ดัดแปลงจากรถยนต์ที่ยึดมาจากกองทัพญี่ปุ่นกว่า 200 คัน ช่วงหลังจบสงครามมหาเอเชียบูรพาในสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งฝ่ายสัมพันธมิตรยึดรถยนต์เหล่านั้นและยกให้เป็นของตอบแทนบุญคุณที่นายบุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์ ผู้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองกาญจนบุรีขณะนั้น ซึ่งได้ช่วยเหลือเชลยศึกระหว่างที่พวกเขาเหล่านั้นถูกกองทัพญี่ปุ่นกวาดต้อนมาอยู่ในค่ายกักกันกาญจนบุรี เพื่อเป็นแรงงานสร้างทางรถไฟไปยังเมียนมา
1947年,政府将公交车运营权赋予了Lert先生公交车公司,另外还有竞争对手Bun Phong公交车公司,由Bunphong Siriwetchaphan 先生负责,这也是一家被政府允许 可以运营曼谷公交车的公司,据他的儿子说,Bun Phong公交车公司的公交车是由在第二次世界大战结束后获得的200辆日本军车改造的,是同盟国没收了这些军车,并当作谢礼转交给了当时的北碧府市长Bunphong Siriwetchaphan,当时他帮助了被日军关押在北碧府战俘营修建泰缅铁路的战俘。
พ.ศ.2497 มีการออกพระราชบัญญัติการขนส่งเพื่อควบคุมกิจการรถเมล์ที่เริ่มมีการวิ่งทับเส้น แย่งลูกค้า และแข่งขันเรื่องราคา โดยกำหนดให้ผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทาง ต้องขอรับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
1954年,发 布了关于运输管控的皇家条例,因为当时公交车运营出现了线路重叠、争抢乘客和打价格战的状况,要求运营公交车线路的公司必须获得运营许可证明。
พ.ศ.2502 รถรางไฟฟ้าถูกยกเลิกเพราะความเชื่องช้า และด้วยการขยายตัวของรถเมล์ทำให้ระบบรางกลายเป็นสิ่งกีดขวางการจราจรบนท้องถนน
1959年,有 轨列车由于速度过慢被取缔,而且公交车的发展也使有轨列车的轨道成了路面上的障碍。
พ.ศ.2518 ในสมัยรัฐบาล หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้มีมติของคณะรัฐมนตรีให้รวมรถโดยสารประจำทางในกรุงเทพมหานครเป็นบริษัทเดียว เรียกว่า “บริษัทมหานครขนส่ง จำกัด” เป็นรูปรัฐวิสาหกิจประเภทบริษัท จำกัด มีรัฐถือหุ้นอยู่ 51% และเอกชนถือหุ้น 49%
1975年,在克立•巴莫总理在任期间,内阁出台了整合曼谷公交车公司的决议,合并为“Maha Nakhorn运输有限公司”,是国有企业,政府持股51%,私人持股49%。
พ.ศ. 2519 ในสมัยรัฐบาลของ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้ง “องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ” เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2519 โดยรวมกิจการรถโดยสารทั้งหมดจากบริษัทมหานครขนส่ง จำกัด มาขึ้นอยู่กับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก.
1976年,社尼•巴莫担任总理期间,1976年10月1日下达决议成立曼谷大众运输机构,合并了Maha Nakhorn运输公司的所有业务,全部归属于曼谷大众运输机构。
不知道各位小伙伴有没有坐过曼谷的这些古董公交车呢?
声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自sanook,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。