花哨的色彩和文艺的名称更配哦~八种颜色的泰文名称由来
普通的红黄蓝已经不能满足我们了,必须得是西瓜红、柠檬黄、宝石蓝什么的才能成功地吸引我们的注意。给颜色命名可是一项艺术,一个好的名称可以将一种颜色描述得更加贴切,更加好看,甚至更加好吃。今天就带大家涨涨芝士,一起来见识一下这八种颜色的泰文名称和它的由来吧!
1. สีกรมท่า
海军蓝
สีกรมท่าคือสีน้ำเงินเข้ม เรียกตามสีเครื่องแบบของข้าราชการกรมท่าในอดีต จริงๆแล้วสีกรมท่าคือสี Navy blue ซึ่งเป็นสีประจำกองทัพเรือสหราชอาณาจักร (British Royal Navy) ตั้งแต่ปี 1748 และสีนี้ก็เผยแพร่ไปสู่กองทัพเรือของประเทศอื่น ในที่สุดก็เดินทางมาถึงกรมเจ้าท่า ประเทศสยาม ในสังกัดกรมพระคลัง สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมากรมเจ้าท่าได้ดูแลในเรื่องการทูต เพราะต้องติดต่อกับชาวต่างชาติที่นั่งเรือมา จึงย้ายไปอยู่สังกัดกระทรวงการต่างประเทศตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 และย้ายสังกัดเรื่อยมา ปัจจุบันอยู่ในสังกัดกระทรวงคมนาคมค่ะ
海军蓝就是深蓝色,是按照从前海事处官员制服的颜色命名的。自1748年起,海军蓝就是英国皇家海军的代表色。此后,这种颜色也在其他国家的海军中传播开来,最终传到了暹罗皇家财政部下属的海事处。据推测,海事处在阿育陀耶王朝就已经建立。后来,为方便与西方国家的航海往来,自拉玛四世国王统治时期,海事处就交由外交部管辖,负责处理外交事务。现今则隶属于交通运输部。
2. สีกากี
卡其色
สีกากีคือสีน้ำตาลอมเหลือง ถ้าเทียบเคียงกับปัจจุบันก็คือสีเบจค่ะ กากีเป็นคำยืมมาภาษาฮินดีอูรดูและภาษาอูรดู ในทั้งสองภาษานี้มีความหมายว่าสีของดิน ในภาษาเปอร์เซียมีความหมายว่าดิน ซึ่งอังกฤษรับคำว่า Khaki มาจากอินเดียสมัยล่าอาณานิคม และถูกนำมาตั้งเป็นชื่อสีเครื่องแบบของกองทัพอังกฤษตั้งแต่ 1848 ในประเทศอื่นๆก็นิยมใช้ชุดสีกากีเป็นชุดทหารและชุดพราง ประเทศไทยเราก็ใช้เป็นสีชุดข้าราชการค่ะ
卡其色是一种黄棕色,接近于浅褐色、米黄色。“卡其”是从印地语和乌尔都语中音译而来的外来词,在这两种语言中,都代表土色,在波斯语中的意思是土地。英国对印度进行殖民统治时期接收了“卡其”这个词,并于1848年起,将其用作英国军队制服颜色的名称。其他一些国家的军装和迷彩服也喜欢用卡其色,泰国还用卡其色作为政府官员制服的颜色。
3. สีโอรส
复古玫瑰色
สีโอรสคือสีส้มอ่อน เทียบเคียงได้กับสี Peach หรือ Coral ชื่อสีโอรสมาจากคำภาษาอังกฤษที่ว่า Old rose ออกเสียงในภาษาไทยว่าโอลด์โรส กร่อนคำไปมาจนกลายเป็นโอรสในที่สุดค่ะ สีโอรสนี้ก็มาจากสีของดอกกุหลาบที่เก่าแล้ว กลีบจะเริ่มมีสีหม่นๆไม่สดใส ถ้าลองค้นหาดูจะพบว่าสี Old rose ของไทยกับของฝรั่งไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นเวลาคุณกับชาวต่างชาติต้องเทียบสีให้เป๊ะนะคะ
复古玫瑰色是一种浅橙色,接近于桃色或珊瑚色,由英文词语“old rose”音译而来,泰语发音为“โอลด์โรส”,几经演变,最终简化成了“โอรส”。复古玫瑰色是指玫瑰花即将干枯之际,花瓣不再娇艳而逐渐变得暗淡的颜色。如果尝试上网搜索,会发现泰国人和西方人眼中的复古玫瑰色是有差异的。所以,在和外国人形容颜色时一定要注意表述准确。
4. สีขาบ
蓝紫色
สีขาบคือสีน้ำเงินเข้มอมม่วงนิดๆ อย่างสีน้ำเงินที่ใช้บนธงชาติไทย ซึ่งหมายถึงพระมหากษัตริย์ สันนิษฐานว่าชื่อสี“ขาบ”มาจากสีปีกของนกตะขาบ ที่พบได้ทั่วไปในประเทศไทย ยกเว้นภาคใต้ฝั่งอันดามัน สีขาบถูกใช้ในงานศิลปะไทยมากมาย เช่น กระเบื้องของเจดีย์ประจำพระองค์รัชกาลที่ 4 ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารค่ะ
蓝紫色是略带紫色调的深蓝色,就像泰国国旗上象征国王的那道深蓝色。据推测,“ขาบ”来自于一种名为“ตะขาบ”(棕胸佛法僧)的鸟翅膀的颜色。这种鸟在除安达曼南部海岸以外的泰国其他地区都比较常见。这种蓝紫色被广泛用于泰国艺术作品,例如卧佛寺中拉玛四世国王佛塔的瓷砖用的就是这种颜色。
5. สีแดงชาด
朱砂红
สีแดงชาดคือแดงสด หรือ Crimson red ชาดเป็นผงสีแดงชนิดหนึ่ง มาจากแร่ธาตุซินนาบาร์ (Cinnabar) ใช้สำหรับเขียนหรือตีตราสิ่งต่างๆ สมัยก่อนยังนำมาทำยาไทยได้อีกด้วย ชาดมีสีแดงสดทำให้เราเรียกสีแดงเฉดนี้ว่า“แดงชาด”ชาดในไทยเดินทางมาจากประเทศจีน ชาวจีนมักใช้เขียนฮู้ และนำมาผสมกับน้ำมันเพื่อใช้สำหรับประทับตราต่างๆ ในเวลาต่อมามีตลับหมึกสำเร็จรูปแล้ว แต่คนไทยก็ยังคงเรียกติดปากว่าตลับชาด แม้ตลับหมึกจะไม่ได้มีแค่สีแดงแล้วก็ตามค่ะ
朱砂红指鲜红色或艳红色。朱砂是由朱砂矿石制成的红色粉末,用于书写或印章,过去还被用来制作泰药。因朱砂颜色鲜红,我们便将这种色调的红色称为“朱砂红”。朱砂是从中国传入泰国的,中国人常用朱砂来画符,或者将朱砂与油混合制成盖章用的印泥。后来有了专门的碳粉,但泰国人还是习惯称之为朱印,即使碳粉不仅只有红色这一种颜色。
6. สีเขียวไข่กา
鸦蛋青
สีเขียวไข่กาคือสีเขียวอ่อนอมคราม ชื่อสีก็ตรงตัวเลยค่ะ มาจากสีของไข่อีกา ที่จะออกเขียวอ่อนๆ และมีลายจุดสีน้ำตาลปน (แบบไข่นกกระทา) สิ่งของสีเขียวไข่กาที่คุ้นหน้าคุ้นตากันดีก็คือเครื่องเคลือบ หรือ“เครื่องสังคโลก”ภาษาอังกฤษเรียกว่า Celadon ต่อมาถูกทำให้เป็นคำไทยว่า “ศิลาดล” เป็นเครื่องปั้นดินเผาชนิดหนึ่ง ที่จะเคลือบดินผสมขี้เถ้าไม้ก่อและไม้รกฟ้า เมื่อนำไปเผาแล้วก็จะได้สีเขียวแบบเขียวไข่กา เทคนิคนี้ไทยเรียนรู้มาจากจีนตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้วค่ะ
鸦蛋青是浅绿和靛蓝的混合色。正如它的名字一般,与乌鸦蛋的颜色有关,呈浅绿色,且夹杂着褐色(像鹌鹑蛋一样)。我们所熟悉的釉瓷或者“宋卡洛瓷器”(泰国素可泰时期的旧式瓷器)就是鸦蛋青色。这种瓷器的英文名称叫做“Celadon”(青瓷),泰语音译为“ศิลาดล”,是将泥土和草木灰混合制成瓷坯,烧制成的胎土就会呈现出乌鸦蛋一般的青色。泰国在素可泰时期就从中国学习了这项制瓷技术。(道理我都懂,可这乌鸦蛋真是亲生的吗?比麻麻颜值高多了呢!)
7. สีดอกเลา
芦苇花色
สีดอกเลาคือสีขาวอมเทา “เลา” เป็นต้นหญ้าชนิดหนึ่งมีอายุยืนหลายปี ดอกของต้นเลาจะบานในช่วงฤดูร้อน ทุ่งดอกเลายอดฮิตที่นักท่องเที่ยวชอบไปอยู่ที่ภูชี้ฟ้า จ.เชียงราย สีดอกเลามักใช้เป็นคำเปรียบเทียบกับคนที่มีผมสีขาวอมเทาทั้งหัว เรียกว่าผมสีดอกเลาค่ะ
芦苇花色是一种灰白色。“芦苇”是一种多年生草类植物,芦苇花在夏季盛开。泰国最热门的芦苇花观赏地点位于清莱府的指天山上。芦苇花色通常被用作比喻满头灰白的头发颜色,这种发色就被称为芦苇花色。(也就是风靡一时的“奶奶灰”吧。)
8. สีม่วงดอกรัก
牛角瓜花紫
สีม่วงดอกรักมีลักษณะเป็นสีม่วงอ่อนๆ มาจากต้นดอกรักสีม่วง หลายคนคงเคยเห็นดอกรักที่เป็นสีขาว จริงๆแล้วสีม่วงก็มีนะคะ ต้นรักเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก พบได้ทั่วไปในประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา อินเดีย และจีน ชื่อ “รัก” มาจากภาษาอินเดียที่ว่า “อรัก” ต่อมาถูกกร่อนเป็นรักเฉยๆค่ะ ดอกรักนิยมนำมาร้อยมาลัยใช้ในงานมงคล เช่น งานแต่งงาน เพราะพ้องความหมายกับคำว่าความรักนั่นเองค่า~
牛 角瓜花紫是一种浅紫色,源自于紫色的牛角瓜花。牛角瓜的花除了我们常见的白色,其实还有紫色。牛角瓜是一种小灌木,在泰国、印度尼西亚、马来西 亚、菲律宾、斯里兰卡、印度和中国 都比较 常见。花名“รัก”来自印度语的“ อรัก”,后来简化得只剩下了“รัก”。在很多喜庆的场合例如婚礼,都会用牛角瓜花编成花环,因为它可是爱情的代名词哦~
小编抑制不住好奇,上网搜了一下”颜色名称大全“,真是不搜不知道,一搜吓一跳!就连黑色都有十来种色调和名称!传说中"五彩斑斓的黑"竟然真的可以实现!有兴趣的童鞋可以一探究竟哦~
声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自fiercebook,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。