精华还是糟粕 泰国大学的“迎新生”文化还应不应该存在?
马上又要到泰国大学的开学季了,每年一到这个时候,就会有人讨论一个老生常谈的问题,那就是泰国大学的迎新生仪式。可能大家多多少少也从新闻上看到过一些,表面上的迎新生仪式实际上就是学长学姐们对新入学大学生的无底线整蛊,有时候甚至会闹出人命。本来是为了加强老生和新生之间的联系的,怎么一步步发展成了这么没有底线的事情了呢?今天我们就一起来看看。
ทุก ๆ ปี ในช่วงที่เปิดปีการศึกษาใหม่ นิสิต-นักศึกษาใหม่ที่มีที่มาจากต่างที่ต่างถิ่นก็จะเข้ามาอยู่ในรั้วสถาบันการศึกษาเดียวกัน “ประเพณีรับน้อง” จึงถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย โดยอ้างว่ามีจุดประสงค์เพื่อละลายพฤติกรรมของคนที่มาจากหลาย ๆ ที่ การเจอกันครั้งแรกก็ไม่แปลกที่แต่ละคนจะมีกำแพงในการเข้าหากัน แม้ว่าจะพยายามหาเพื่อนและสร้างมิตรภาพอยู่ก็ตาม การรับน้องจะมีกิจกรรมที่ช่วยให้คนกลุ่มนี้ลดกำแพงลงและทำความรู้จักกันง่ายขึ้น
每年的新生季,就会有很多来自不同地方的学生进入大学校园,“迎接新生”的风俗习惯就被广泛传播,理由是为了融合不同地方人的行为习惯,第一次见面尽管尽力社交,但肯定会有一些理解沟 通上的障碍,迎接新生仪式就可以帮助减轻这些障碍,让大家更加容易地相识相处。
ประเพณีการรับน้องที่เราเห็นกันก็มีทั้งแบบสร้างสรรค์ เน้นสร้างความสัมพันธ์แรกพบระหว่างกันได้ดี มีกิจกรรมที่ช่วยให้น้องใหม่ลดกำแพงต่อกันได้จริง ๆ อีกทั้งยังได้ทำความรู้จักกับรุ่นพี่ที่ในอนาคตอาจมีโอกาสได้พึ่งพากัน ใครใคร่ร่วมก็ร่วม ใครไม่ใคร่ร่วมก็ไม่บังคับ ในท้ายที่สุดก็ยังสามารถเป็นเพื่อน เป็นรุ่นพี่ รุ่นน้องได้เหมือนเดิม
我们现在看到的这种迎新生习俗有一些是非常有创造性的,强调学生们初次见面的关系建立,有一些真正能让学生卸下防备的活动,让新生们认识一些日后可以寻求帮助的老生, 谁想参加就参加,不想参加也不强迫,最后也能交到朋友,或者保持前辈和后辈的关系。
แต่ประเพณีการรับน้องแบบไม่สร้างสรรค์ก็มีให้เห็นอยู่ทุกปีเช่นกัน กิจกรรมที่ใช้ความรุนแรง คุกคามทางเพศ ลิดรอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งล้วนสร้างบาดแผลให้กับรุ่นน้องทั้งร่างกายและจิตใจ และที่หนักหนาสาหัสที่สุดคือ “ความตาย” ที่มีให้เห็นทุกปี ทั้งที่มันเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นในรั้วสถาบันการศึกษาและไม่ควรจะเกิดขึ้นจากคนที่ไม่รู้จักกันแต่อ้างตัวว่าเป็น “รุ่นพี่” พ่อแม่ผู้ปกครองถึงกับใจสลาย เพราะการส่งบุตรหลานไปเรียนหนังสือ เหมือนกับส่งให้ไปตาย และแต่ละสถาบันก็ไม่ใช่สถาบันโนเนม จำนวนไม่น้อยที่มีชื่อเสียงอันดับต้น ๆ ของประเทศ
但是每年也都会有一些不是很好的迎新生活动,比如使用暴力、性侵犯、侵犯人权的活动,这些活动会对新生的身心都造成伤害,最严重的会造成死亡。这样的事不应该 在大学校园内发生,更不应该在不认识的人之间发生,不能仅仅以学长学姐的身份作为借口,导致父母家长伤痛欲绝,他们把孩子送到大学读书,结果却把他推向了死亡,发生类似事件的学校也不只是不知名的学校,有不少国家排名靠前的大学都曾经发生过。
แล้วเคยสงสัยกันหรือไม่ว่าการรับน้องหรือระบบโซตัส (SOTUS) มีจุดกำเนิดมาจากไหน และในต่างประเทศมีการรับน้องเหมือนในเมืองไทยหรือไม่?
大家有没有好奇过迎接新生仪式或者叫 SOTUS体系是怎么来的呢?在国外有没有像泰国这样类似的活动呢?
จุดกำเนิดการรับน้องหรือระบบโซตัส
迎新生或SOTUS体系的起源
การรับน้องหรือระบบโซตัส (SOTUS) มีจุดกำเนิดมาจากระบบอาวุโสของโรงเรียนกินนอนในประเทศอังกฤษ ที่เรียกว่า Fagging System ระบบนี้จะมีการแต่งตั้งดรุณาณัติ หรือ Prefect/Fag-Master โดยครูในโรงเรียนเลือกเอานักเรียนอาวุโสที่เรียนดี ประพฤติดีเข้ามาเป็นผู้ช่วยครูในการดูแลและควบคุมพฤติกรรมของนักเรียน ควบคุมและวางกรอบให้นักเรียนต้องประพฤติตนอยู่บนหลักการพื้นฐานของโซตัส ระบบนี้จึงเป็นระบบที่เอื้ออำนาจให้แก่ครูอย่างแท้จริง ในการคัดเลือกตัวแทนนักเรียนมาปกครองนักเรียนอีกทอดหนึ่ง
迎接新生或SOTUS体系的起源来自英国寄宿学校的Fagging System(跑腿系统),这个体系会建立起学生负责人,学校里的老师选择学习好品行好的高年级学生作为老师的助手,来管理学生的行为,为学生的行为举止设立规则框架,这个体系给予老师权利选择负责学生去管理其他人。
คำว่าโซตัส (SOTUS) ประกอบด้วยคำว่า
SOTUS包含 下列的词汇
- Seniority หมายถึง การเคารพความอาวุโส ซึ่งหมายความถึงวัยวุฒิและอาวุโสในตำแหน่งหน้าที่ นับเป็นหัวใจของระบบโซตัส
- 资历:尊重长辈,包括年龄上和资 历上的长辈,这是SOTUS体系的核心
- Order หมายถึง ความมีระเบียบวินัย ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม
- 规矩:要有纪律,根据社 会的规则行事
- Tradition หมายถึง การปฏิบัติตามธรรมเนียมประเพณีเพื่อสืบทอดต่อไป
- 传统:根据沿袭传承 下来的习惯行事
- Unity หมายถึง ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน สมานสามัคคี
- 团结:团结 一致
- Spirit หมายถึง ความเสียสละ ความมีน้ำใจ
- 精神:懂得 牺牲,待人真诚
ต่อมาระบบนี้ก็ถูกนำไปใช้ในสถาบันการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งสถาบันการศึกษาสายสังคม สายทหาร และสายเกษตรศาสตร์ โดยระบบในอเมริการุ่งเรืองบนฐานความคิดที่ต้องการควบคุมนักศึกษา จากประเทศโลกที่สามที่ถูกจัดให้เป็นประเทศด้อยพัฒนาที่เข้ามาเรียนในอเมริกา ต่อมาเมื่อเรียนจบบรรดานักศึกษาเหล่านั้น ก็นำระบบนี้ไปใช้ในประเทศของตน เช่น ระบบโซตัสในฟิลิปปินส์ เป็นต้น
后来这种体系就被美国的学校效仿,包括社会、军事、农业等等多种教育机构,在美国的体系被运用到管控到美国留学的第三世界欠发达国家的学生而发展,后来当这些学生毕业之后, 就把这样的体系带回了自己的国家,例如菲律宾等等。
การรับน้องในประเทศไทย : มรดกตกค้างของการศึกษาสมัยอาณานิคม
泰国的迎新生:殖民 时期教育中的“遗产”
การรับน้องภายใต้ระบบอาวุโสด้วยหลักการโซตัส (SOTUS) เริ่มเข้ามาในประเทศไทย เมื่อมีการตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวงหรือวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน และเมื่อมีการก่อตั้งโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ซึ่งกลายเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อมา ก็มีการนำเอาระบบโซตัสเข้าไปใช้ ตั้งแต่ 23 กันยายน 2445 ดังเห็นได้จากเพลงเกียรติภูมิจุฬาฯ ที่แต่งโดย ศาสตราจารย์วิกรม เมาลานนท์ ในปี 2510 ซึ่งบรรจุอุดมการณ์ทั้งหมดของโซตัสไว้ในเพลง
在拉玛六世时期建立侍卫学校或现在的VAJIRAVUDH COLLEGE、朱拉隆功大学及其前身的时候,SOTUS体系下的迎新生就被引进了泰国,时间是在1902年9月23日,可以从1967年Vikrom教授创作的歌曲《朱拉的荣光》中看到SOTUS体系全部的内涵:
“มาเถิดมา ภราดาจุฬาฯทุกแหล่ง มาร่วมแรง รวมรักและสามัคคี
“来吧!朱拉隆功的兄弟们团 结友爱
อาวุโสเทิดไว้ น้ำใจระเบียบเรานี้ พร้อมประเพณี เสริมให้มีแต่วัฒนา
尊敬前辈,遵守规 则,传承传统,让我们进步
สีชมพู เชิดชูไว้คู่แดนไทย แสนยิ่งใหญ่และเกรียงไกรในวิทยา
尊崇粉色(朱拉 隆功大学的颜色)和泰国大地,校园中耀眼伟大的光芒
น้องพี่เราล้วนยิ้มแย้ม พักตร์แจ่มหฤหรรษา ยึดมั่นอุดมการณ์มา เพื่อผองประชาชาติไทยทั้งมวล
大家笑容满面, 满面荣光,坚持理想,为了全体泰国人
ทั่วราชอาณาจักรนี้เราเป็นหลักอยู่แต่ละส่วน ชาวจุฬาฯ จึงควรรู้ค่าแห่งเกียรติภูมิจุฬาฯ
我们都是泰王国的 一部分,朱拉人应该懂得朱拉的荣光
พร้อมกันอภิรักษ์ พิทักษ์ให้อยู่คู่ฟ้า วุฒิศักดิ์จุฬาฯ วัฒนาอยู่นิจนิรันดร์”
守护保卫它,让它 永存,朱拉知识的荣光,不断增多”
อย่างไรก็ตาม ระบบรุ่นพี่รุ่นน้องและการรับน้องของจุฬาฯ นั้น ไม่ได้เป็นที่มาของระบบว้ากแต่อย่างใด ผู้นำระบบ SOTUS มาใช้ร่วมกับการว้ากนั้น ได้แก่ โรงเรียนป่าไม้ภาคเหนือ หรือวิทยาลัยเกษตรกรรมแม่โจ้ (มหาวิทยาลัยแม่โจ้ในปัจจุบัน) เนื่องจากอาจารย์ยุคบุกเบิกส่วนใหญ่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จบมาจากวิทยาลัยเกษตรกรรมลอสบานยอส (Los Banos) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์ ในยุคที่อยู่ภายใต้อำนาจของเจ้าอาณานิคมอเมริกา
无论如何,朱拉隆功大学的新生迎接仪式并不是SOTUS体系的起源,同样使用这一体系的学校还包括泰北林业学校或梅州农业学院(现在的梅州大学),这是因为梅州大学创始的一 些老师都是毕业于洛斯巴诺斯农业学院,属于菲律宾大学的一部分,当时处于美国殖民的统治之下。
อีกทั้งอาจารย์บางท่านก็ถูกส่งไปยังมหาวิทยาลัยโอเรกอน หรือมหาวิทยาลัยคอร์แนลล์ ที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งคอร์แนลล์นี้เองที่เป็นต้นฉบับการว้าก และส่งต่อประเพณีดังกล่าวให้แก่มหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์ เช่น ประเพณีการปีนเสา รวมถึงประเพณีและธรรมเนียมซึ่งเป็นชาติเจ้าอาณานิคม นำมาเป็นเครื่องมือใช้กำกับประเทศใต้อาณานิคม
另外,有些老师还被 送到美国的俄勒冈大学或康奈尔大学,康奈尔大学就是这种迎新生体系的发源地,将这种习俗传播到了菲律宾的大学,例如攀爬杆子的习俗和一些殖民者用来控制殖民地的风俗习惯。
ต่อมาเมื่อมีการตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ขึ้น ในปี 2486 ในช่วงแรกมีการรับเอานักศึกษาจากวิทยาลัยเกษตรแม่โจ้มาเรียนต่อ การว้ากจึงถูกถ่ายทอดมายังมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ด้วย โดยเชื่อว่าการกดดันรุ่นน้องจะเป็นการละลายพฤติกรรมและช่วยให้อยู่ร่วมกันได้ ลดทอนความต่างของฐานะและมีความเท่าเทียมกันมากขึ้น
后来不久在1943年建立了农业大学,刚开始的时候也接收了很多梅州农业学院的学生来读书,迎新生体系也就被带到了农业大学,人们认为对晚辈学生的压迫是一种消除社交障 碍、帮助学生和谐共处的方法,可以减少大家因为地位产生的差异,让人们更加平等。
ระบบการรับน้องของเกษตรศาสตร์ จึงเป็นระบบการว้ากผสมไปกับระบบ SOTUS ที่รับมาจากจุฬาฯ ดังคำบอกเล่าของระพี สาคริก ว่าเมื่อรุ่นน้องปีหนึ่งไปปรับทุกข์กับอาจารย์ที่จบจากเมืองนอก ก็จะได้คำตอบกลับมาว่า “ปีหน้าก็คงถึงทีเธอบ้าง ไม่ต้องเสียอกเสียใจอะไรไป” คำกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่าความรุนแรงเชิงโครงสร้างในระบบอุดมศึกษาไทยดำรงอยู่ได้ด้วยการอุปถัมภ์และสนับสนุนของบุคลากรทางการศึกษามาตั้งแต่ต้นแล้ว
农业大学的迎新生活动就混合了迎新生体系和从朱拉隆功大学接收到的SOTUS体系,就好像Rapee Sagarik讲的那样,当有一个新生去和国外毕业的老师诉苦的时候,得到的回答是:“明年就轮到你了,没必要去伤心。”这样的回答展示了泰国高等教育中结构性的暴力,这些暴力竟然从根源上获得了教育者的容忍和 支持。
กระแสประชาธิปไตยที่เบ่งบานในช่วงหลัง 14 ตุลาคม 2516 ทำให้เกิดการตั้งคำถามกับการใช้อำนาจในการรับน้องและความรุนแรงในการรับน้องเบาบางลงไป และล้มเลิกไป เช่น คณะอักษรศาสตร์ คณะครุศาสตร์ แพทยศาสตร์ จุฬาฯ ตามด้วยคณะอื่น ๆ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ยกเลิกเป็นคณะสุดท้าย ในปี 2519 ขณะที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และขอนแก่น ก็ยกเลิกการรับน้องเช่นกัน คงเหลือแต่เพียงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ยังคงการรับน้องตามประเพณีอย่างที่สุด
1973年的十十四事件推进了民主的浪潮,让人们反思学生用暴力对待后辈的问题,是否应该减轻暴力或者摒弃这种体系,比如朱拉隆功大学的文学院、教育学院和医学院,还有 其他学院,如工程学院,是最后一个摒弃了这种迎新生体系的学院。1976年,清迈大学和孔敬大学也放弃了类似的迎接新生活动,只剩下了农业大学仍然在传承这种习俗。
(7台明星Donut Phattharapon也参加过迎新活动)
ในต่างประเทศไม่มีการรับน้องแบบของไทย
在外国没有像 泰国一样的迎新生仪式
จากการค้นหาข้อมูลว่าปัจจุบันนี้ในต่างประเทศมีการรับน้องเหมือนในเมืองไทยหรือไม่ พบว่ามหาวิทยาลัยในอเมริกา จะมีการปฐมนิเทศ ซึ่งเป็นการตั้งกลุ่มสมาคม คล้าย ๆ ว่าเป็นคลับของคนที่มีความยึดโยงอะไรบางอย่างด้วยกัน สร้างระบบคุณค่าร่วมกัน และมีการทำกิจกรรมด้วย แต่ไม่เกี่ยวกับคณะและมหาวิทยาลัย
通过搜集资料,看现在世界上还有没有像泰国一样有着类似的迎新生体系的学校,发现在美国的大学会有迎新日活动,会有社团的建立,就好像是有共同爱好的人组 成的团体,共同创造价值,一起参加活动,但是与学院和学校无关。
ส่วนมหาวิทยาลัยในออสเตรเลียจะมี O-week ซึ่งย่อมาจาก Orientation week นั่นก็คือสัปดาห์ปฐมนิเทศ หรือกิจกรรมต้อนรับนักศึกษาใหม่ เพื่อทำความรู้จักกับมหาวิทยาลัย ปกติ O-week จะมีการจัดขึ้นทุกเทอมการศึกษาก่อนวันเปิดเรียน 1 สัปดาห์ จะมีการพาชมมหาวิทยาลัย สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ และบริการของมหาวิทยาลัย ได้รู้จักเพื่อนใหม่ในรุ่นเดียวกัน รุ่นพี่ในคณะ และทีมงานที่ให้ความช่วยเหลือนักเรียนต่างชาติของมหาวิทยาลัย รวมถึงยังได้ร่วมกิจกรรมสนุกที่ทางคณะและมหาวิทยาลัยจัดต้อนรับ
澳大利亚的大 学会有迎新周活动,让新生了解大学,一般来说迎新周在每个学期开始前的一周都会举行,有带领游览校园的活动,了解校园的各种设施和服务,了解同届的新朋友和学院里的前辈,还有工作团队帮助学校里的留学生,还可以参加学院和学校举办的有趣活动。
ในโซนเอเชียอย่างมหาวิทยาลัยในเกาหลี ก็จะมีกิจกรรมที่จัดขึ้นทุกเปิดเทอมใหม่คือ MT หรือ Membership Training เป็นการรวมตัวกันของรุ่นพี่รุ่นน้องในมหาวิทยาลัย โดยอาจจะจัดที่มหาวิทยาลัยหรืออาจจะจัดเป็นทริปเที่ยวก็ได้ โดยกิจกรรมหลักก็เน้นให้มีการทำความรู้จักกันมากขึ้น ด้านประเทศญี่ปุ่น ก็ไม่มีการรับน้องแบบของไทยเช่นกัน แต่จะมีวัน Guidance แทน ซึ่งในวันนั้นจะมีอาจารย์มาพูดเกี่ยวกับวิธีลงเรียน และมีรุ่นพี่มาแนะนำชมรมของคณะนั่นเอง
在亚洲范围,比如韩国的大学,也有每个新学期都会举办的会员培训活动,将学校的学长学姐学弟学妹聚集在一起,可以在学校内举行,也可以做成旅行的形式,活动的主要目的就是让大家更加了解。在日本,也没有类似泰国的迎新生活动,但是会有带领日活动,在这天会有老师来讲上课注册的方法,还会有学长学姐们来介绍学院的社团。
不知道各位小伙伴对泰国的迎新生文化怎么看呢?
声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自sanook,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。