学习泰语的同学在背单词的时候一定被一星期的七天和一年的十二个月难为过,好几个真的是又长又难记,一看就是不知道从哪里借来的词汇。今天我们就来带大家好好了解一下它们,看看能不能帮你更准确地记住这些难记的词呢?

(音频-可在沪江泰语公众号上收听)
朗读:(泰)ฟ้าใส

ในสมัยโบราณไทยกำหนดวันเดือนแบบจันทรคติ อาศัยการโคจรของดวงจันทร์เป็นหลักคือ นับจำนวนวันตามดวงจันทร์ เริ่มตั้งแต่ดวงจันทร์มีแสงสว่างน้อยๆ ไปจนถึงสว่างเต็มดวง ระยะนี้เรียกว่า “ข้างขึ้น” หรือ “เดือนหงาย” เพราะรูปดวงจันทร์มีลักษณะหงายขึ้นจนกระทั่งโตเต็มดวง เริ่มนับแต่ขึ้น 1 ค่ำไปจนถึง 15 ค่ำ
古代泰国以阴历来规定月份和日期, 以月亮的圆缺为主要依据,根据月亮来规定日期,从月亮刚有一点微微的光亮开始,一直到满月,这段时间叫做“上弦月”,因为月亮逐渐满盈直至满月,从初一一直到十五。

ต่อจากนั้นดวงจันทร์ก็เริ่มแหว่งมีแสงน้อยลงตามลำดับ ระยะนี้รูปดวงจันทร์ดูเหมือนคว่ำ มีลักษณะเป็นเสี้ยวเล็กลงจนดับมิดดวง เรียกว่า “ข้างแรม” เริ่มนับแต่แรม 1 ค่ำ เรื่อยไปจนถึงแรม 14 ค่ำ และแรม 15 ค่ำ เดือนหนึ่งจึงมี 29 วันบ้าง 30 วันบ้างแล้วแต่เดือนขาด เดือนเต็ม (เดือนขาด คือ มี 29 วัน เพราะมีเพียง แรม 14 ค่ำ จะมีในเดือน 3,5, 7, 9 และ 11 )
在那之后,月亮开始慢慢出现缺口,月亮的形状好像是扣下去一样,慢慢变细长直到全却,叫做“下弦月”,从十六一直到二十九或者三十,所以一个月会有29天或者30天,根据 月亮的形状儿定(小月有29天,因为只到阴历二十九,一共有3、5、7、9、11月这几个月)。

นอกจากการนับวันแบบขึ้นแรมแล้ว ไทยได้แบบอย่าง “การเรียกชื่อวัน” ทั้ง 7 มาจากอินเดียอีกอย่างหนึ่งคือ วันอาทิตย์ วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ และวันเสาร์ จะผิดกันบ้างบางวันเพราะในอินเดียเรียกวันทั้ง 7 ว่า รวิวาร-วันอาทิตย์, โสมวาร-วันจันทร์, มงคลวาร-วันอังคาร, พุธวาร-วันพุธ, พฤหัสบดีวาร-วันพฤหัสบดี, ศุกรวาร-วันศุกร์ และศนิวาร-วันเสาร์
除了根据月亮的盈缺计算日期之外,泰国还从印度文化中学习了一周7天的日期计算方法,分别是周一、周二、周三、周四、周五、周六、周日,里面存在一些不同,因 为印度把一周的7天称为:รวิวาร /rawiwaan/‘周日’、โสมวาร /soommawaan/ ‘周一’、มงคลวาร /mongkhonlawaan/ ‘周二’、พุธวาร /phutthawaan/ ‘周三’、พฤหัสบดีวาร /phruethatsabɔɔdii/ ‘周四’、ศุกรวาร /sukkɔɔnwaan/ ‘周五’、ศนิวาร /sinawan/ ‘周六’。

ไทยนำแบบอย่างมาแต่เปลี่ยนเรียกให้เหมาะสมกับนามเทวดานพเคราะห์ที่ใช้เรียกในเมืองไทย การเรียกชื่อวันดังกล่าวมีมาช้านานแล้ว มีหลักฐานปรากฏในหลักศิลาจารึกมากแห่งด้วยกัน
泰国借鉴了印度 的叫法,但是根据自身对星象的认识创造了自己的叫法,上述日期的称呼方法由来已久,在很多石碑上都有记载。

ส่วน “การเรียกชื่อเดือน” เราไม่เอาแบบของอินเดียซึ่งเขาเริ่มที่เดือน จิตรมาส (เดือน 5), ไพศาขมาส(เดือน 6), เชษฐมาส (เดือน 7), อาษาฒมาส (เดือน 8), ศราวณมาส (เดือน 9), ภัทรบทมาส (เดือน 10), อัสวินมาส (เดือน 11), กัตติกมาส (เดือน 12), มาคศิรมาส (เดือนอ้าย), บุษยมาส (เดือนยี่), มาฆมาส (เดือน 3) และ ผาลคุนมาส (เดือน 4)
至于月份的叫法,泰国没有借鉴印度从五月份开始计算的方法,12个月分别是จิตรมาส /cittramaat/ ‘五月’, ไพศาขมาส /phajsaakhamaat/ ‘六月’, เชษฐมาส /cheetthamaat/ ‘七月’, อาษาฒมาส /ʔaasaathamaat/ ‘八月’, ศราวณมาส /saraawwanamaat/ ‘九月’, ภัทรบทมาส /phatthrabotmaat/ ‘十月’, อัสวินมาส /ʔatsawinmaat/ ‘十一月’, กัตติกมาส /kattikmaat/ ‘十二月’, มาคศิรมาส /maaksiramaat/ ‘一月’, บุษยมาส /butsayamaat/ ‘二月’, มาฆมาส /maatkhamaat/ ‘三月 ’ 和ผาลคุนมาส /phaanlakhunmaat/ ‘四月’。

ไทยแต่เดิมเรียกเดือนแรกของปีว่า เดือนอ้าย เดือนที่ 2 ว่าเดือนยี่ เดือนสาม เดือนสี่ ไปตามลำดับ แม้ต่อมาภายหลังเราจะเปลี่ยนไปใช้เดือน 5 เป็นเดือนแรกของปีเราก็ยังเรียกตามแบบเดิม
以前泰国 的第一个月叫做เดือนอ้าย,第二个月叫做เดือนยี่,然后三月、四月一直排下去,虽然后来开始从第五个月计算新的一年,但是仍然保留了原先月份的计算方法。

ครั้นถึงรัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริว่า การใช้วันเดือนตามแบบจันทรคติไม่สะดวก ไม่เหมาะสมกับความเป็นไปของบ้านเมืองที่ต้องมีความสัมพันธ์กับต่างประเทศที่เขานับวันเดือนตามแบบสุริยคติ (กำหนดว่าเมื่อโลกโครจรไปรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งนับเป็นเวลาปีหนึ่งมีตำนวน 365 วันเศษ แบ่งเป็น 12 เดือน ส่วนจันทรคติกำหนดว่าดวงจันทร์โคจรไปรอบดวงอามทิคตย์ครั้งหนึ่งเป็นเวลา 1 ปี มีจำนวนเพียง 354 วันเศษ) จึงทรงหาจังหวะที่จะเปลี่ยนวิธีนับวันและเรียกชื่อเดือนเสียใหม่ เพื่อใช้เรียกและกำหนดจดจำได้ง่ายขึ้น
当到了拉玛五世王的时候,曾经下御昭,认为阴历的计时方法不方便,不符合国家在对外上需要和使用阳历的国家交往(阳历规定当地球围绕太阳公转一周的时间为365天多一点,分成12个月,阴历规定月球公转一周的时间为354天多一点),所以着手准备修改计算日期和月份的称呼,让日期的计算变得简便。

เผอิญในปีฉลู จ.ศ. 1251 มีวันประจวบเหมาะคือในเดือน 5 ขึ้น 1 คำซึ่งเป็นวันปีใหม่เปลี่ยนปีนักษัตรตามปกตินั้นตรงกับวันที่ 1 ตามปฏิทินสุริยคติพอดี คือเป็นวันที่ 1 ในเดือน 5 แต่จะใช้ว่าวันที่ 1 เดือน 5 หรือเดือนเจตรตามแบบอินเดียที่ไม่เหมาะ จึงต้องคิดชื่อเดือนขึ้นใหม่ โดยอาศัยหลักโหราศาสตร์ที่ว่า เมื่อพระอาทิตย์โคจรเข้าสู่ราศีเมษ ที่เรียกว่าเป็นวัน สงกรานต์ขึ้นปีใหม่จึงเอาชื่อราศีเมษมาเป็นชื่อเดือน ราศีถัดไปคือราศีพฤษภ ราศีมิถุน ราศีกรกฎ ราศีสิงห ราศีกันย ราศีตุล ราศีพฤศจิก ราศีธนู ราศีมกร ราศีกุมภ ราศีมีน (ชื่อราศีเหล่านี้ตามตําราของอินเดีย)
刚好在朱拉历1251年牛年的五月初一是新年,刚好又和阳历的五月一日对上,但是直接规定为5月1日或者用印度的方法并不合适,所以就要重新选取月份的称呼方式, 根据星相学的原理,当太阳转到白羊宫的时候,就是宋干节,所以用白羊宫作为月份的名字,后面的星宫分别是金牛宫、双子宫、巨蟹宫、狮子宫、处女宫、天秤宫、天蝎宫、射手宫、魔羯宫、水瓶宫、双鱼宫(这些星宫的名字均来自印度)。

เมื่อนําเอาชื่อราศีมาใช้เป็นชื่อเดือน เราก็เปลี่ยนแปลงรูปคําเสียใหม่ คือนําเอาคําอายน และอาคม มาสนธิ ต่อท้ายคําเดิม เช่น เมษก็เป็น เมษายน (เมษ + อายน) พฤษภ เป็น พฤษภาคม (พฤษภ + อาคม)
当用星宫的 名字来称呼月份之后,我们改变了新的词型,把อายน和อาคม这两个词与星宫的名称顺替复合,เมษ就成了เมษายน (เมษ + อายน),พฤษภ 就成了พฤษภาคม (พฤษภ + อาคม)。

คําว่า “อายน” และ “อาคม” มีความหมายอย่างเดียวกันว่า “การมาถึง” คือดวงอาทิตย์มาถึงราศีนั้นก็หมายเอาว่าขึ้นเดือนนั้นจึงเรียกชื่อเดือนว่าเช่นนั้น ได้แบ่งเดือนที่มี 30 วันให้ใช้ “อายน” เดือนที่มี 31 วันให้ใช้ “อาคม” มีพิเศษอยู่เดือนหนึ่งมี 28 วัน ให้ใช้ “กุมภาพันธ์” (กุมภ+อาพันธ์ คําว่า อาพันธ์ หมายถึง ผูก ก็หมายอย่างเดียวกันคืออาทิตย์มาถึงราศีกุมภ)
“อายน” 和  “อาคม”的意思都是“到来”,就是说太阳到达了某一个星宫,就用某个星宫来命名这个月份,30天的月份用อายน,31天的月份用อาคม,剩下了28天的一个月就用กุมภาพันธ์(กุมภ+อาพันธ์,กุมภ的意思是“连结”,意思就是太阳和水瓶宫连结在一起)。

นักปราชญ์ของไทยท่านเข้าใจดัดแปลงเอาชื่อราศีของอินเดียมาใช้เป็นชื่อเดือนได้อย่างเหมาะเจาะ ผู้ที่มีหน้าที่คิดชื่ออะไรต่างๆ ในสมัยนั้น ก็มีพระยาศรีสุนทร โวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นหลักอยู่ คงจะร่วมคิดกับ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ) ซึ่งมีความชํานาญในวิชาโหราศาสตร์ และได้ทรงคิดวิธีปฏิทินไทยใช้ตามสุริยคติกาลนําขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และโปรดให้ใช้เป็นแบบแผนของบ้านเมืองมาตั้งแต่ พ.ศ. 2432 คือปีที่ประกาศใช้ชื่อ เดือนเมษายน พฤษภาคม ฯลฯ
泰国的学者借鉴了印度星宫的称呼方式创造出了泰国月份的叫法,在当时负责这件事的主要是Noi Acharayangkun,可能还有Devan Udayawongse王子的配合,他非常擅长占星学,创造了泰国阳历纪年的方法敬献给了拉玛五世,从1889年开始使用เมษายน พฤษภาคม这种纪年方法。

 

这下大家应该对泰国日期和月份的称呼方式有了更多的了解了吧!

 

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。