说到泰国的名菜,泰式炒河粉一定是很多人都会先想到的,关于这道菜背后的故事相信大家也一定听说过不少,很多人都认为它和泰国当时的一位总理有关,也把它当做了当时振兴经济的一项举措。但事实真的是这样的吗?快来了解一下!

เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยได้ยินเรื่องเล่าที่ว่า เมนูอาหารไทยชื่อดังอย่างผัดไทยนั้น มาจากไอเดียของจอมพล ป. พิบูลสงคราม เพื่อแก้ไขปัญหาข้าวยากหมากแพงในภาวะสงคราม และสร้างเมนูที่สะท้อนถึง ‘ความเป็นไทย’ ตามอุดมการณ์ชาตินิยม
相信很多人都听过这样的说法,像Phat Thai(泰式炒河粉)这道名菜,是由銮披汶提出,为的是解决当时泰国物价昂贵的问题,并且暗含了当时提出的泰民族主义。

แต่รู้หรือไม่ว่าความจริงแล้ว จอมพล ป. ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับผัดไทย เพราะไม่มีหลักฐานชิ้นใดเลยที่บอกว่า จอมพล ป. เป็นผู้คิดค้นผัดไทย เพราะสิ่งที่จอมพล ป. ทำนั้น คือการสนับสนุนให้คนไทยกินก๋วยเตี๋ยวต่างหาก
但大家知不知道,实际上銮披汶和泰式炒河粉之间并没有任何关系,没有任何证据表明銮披汶发明了泰式炒河粉,因为銮披汶所做的事是支持泰国人多消费粿条。

ในภาวะสงครามอาหารหลักของคนไทยอย่างข้าวมีราคาแพง ดังนั้นรัฐบาลของจอมพล ป. จึงสนับสนุนให้ประชาชนหันมากินก๋วยเตี๋ยว เพราะก๋วยเตี๋ยวทำจากข้าวหักที่มีราคาถูกกว่า ที่สำคัญยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศด้วย เรื่องนี้สอดคล้องกับคำปราศรัยที่จอมพล ป. เคยกล่าวไว้เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 ความว่า
在战争期间,泰国人的主食米饭价格昂贵,因此,銮披汶政府就支持民众食用粿条,因为粿条是使用了价格更低的碎米制作的,并且这样做还能刺激国内的经济,这个举动在銮披汶1942年11月7日的演讲词中有所提及:

“อยากให้พี่น้องกินก๋วยเตี๋ยวให้ทั่วกัน เพราะก๋วยเตี๋ยวมีประโยชน์แก่ร่างกาย มีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน พร้อมทำได้เองในประเทศไทย ทุกอย่างราคาก็ถูก หาได้สะดวกและอร่อยด้วย”
“希望民众能够多多食用粿条,因为粿条对身体有好处,有酸、咸、甜味,可以在泰国国内生产,价格低廉,能够轻易找到,还很美味。”

“ถ้าพี่น้องชาวไทยกินก๋วยเตี๋ยวคนละหนึ่งชามทุกวัน คิดชามละห้าสตางค์ วันหนึ่งจะมีคนกินก๋วยเตี๋ยวสิบแปดล้านชาม ตกลงวันหนึ่งเงินค่าก๋วยเตี๋ยวของชาติไทย หนึ่งวันเก้าสิบล้านสตางค์เท่ากับเก้าแสนบาท เป็นจำนวนเงินหมุนเวียนมากพอใช้”
“如果泰国民众每天每人吃一碗粿条,每碗5士丹,一天就会消费掉1800万碗,每天国家就能从粿条中获得9000万士丹,折合为90万泰铢,是一笔足够的流动资金。”

“เงินเก้าแสนบาททุก ๆ วันนี้ ไหลไปสู่มือชาวไร่ ชาวนา ชาวทะเล ทั่วกันไม่ตกไปถึงมือใคร และเงินบาทก็มีราคาหนึ่งบาท ซื้อก๋วยเตี๋ยวได้เสมอ ไม่ใช่ซื้ออะไรไม่ได้อย่างทุกวันนี้ ซึ่งเท่ากับไม่มีประโยชน์เต็มที่ในค่าของเงินมันเอง”
“每天90万泰铢会再次回到农民渔民的手中,不会落入任何个人,手中的泰铢永远是能够买到粿条的货币,不会买不到东西,如果不买东西,钱就失去了它的价值。”

ถ้าจอมพล ป. ไม่ได้เกี่ยวข้องหรือคิดค้นผัดไทย แล้วผัดไทยล่ะมีที่มาจากไหน เรื่องนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับก๋วยเตี๋ยวที่เป็นเมนูเส้นจากจีน โดยคนไทยเริ่มรู้จักกับก๋วยเตี๋ยวตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว ส่วนเมนูในลักษณะที่เป็น ‘ก๋วยเตี๋ยวผัด’ ที่คล้ายคลึงกับผัดไทยนั้น ปรากฏครั้งแรกในหนังสือสูตรอาหาร ‘แม่ครัวหัวป่าก์’ ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ที่ตีพิมพ์ปลายสมัยรัชกาลที่ 5 กับเมนูที่เรียกว่า ‘เข้าผัดหมี่’ (ข้าวผัดหมี่)
如果銮披汶和泰式炒河粉没有关系的话,那泰式炒河粉又是怎么来的呢?这道菜和来自中国的粿条有直接的关系,泰国人在阿瑜陀耶时期就已经开始食用粿条了,和现代泰式炒河粉很像的炒制粿条第一次出现在了Plain Phassakorawong的烹饪书籍《Mae Krua Hua Pa》中,这本书在拉玛五世时期印刷出版,这道菜被叫做“炒粉”。

เข้าผัดหมี่มีขั้นตอนในการทำคือ นำหอมและกระเทียมมาเจียวในน้ำมันหมู จากนั้นใส่หมู ไก่ กุ้ง ปูทะเล เต้าหู้เหลืองหั่น พอหอมดีจึงเทข้าวสวยลงผัดต่อ จากนั้นก็ใส่ถั่วงอก ใบกุยช่าย ปรุงรสด้วยเต้าเจี้ยว น้ำตาลทราย น้ำปลา น้ำส้มสายชู เสร็จแล้วโรยหน้าด้วยไข่เจียว ผักชี พริกไทย พริกป่น ปิดท้ายด้วยมะนาวหั่นซีกและผิวส้มซ่า 
当时的炒粉制作过程如下,用猪油炸葱和蒜,然后放入猪肉、鸡肉、虾、螃蟹,炒香之后加入米饭继续翻炒,然后放入豆芽、韭菜,用豆豉、砂糖、鱼露和醋调味,最后放上煎蛋、香菜、胡椒和辣椒粉,最后放上切半的柠檬和胡柚皮。

มีการสันนิษฐานว่า เมนูข้าวผัดหมี่หรือเมนูก๋วยเตี๋ยวผัดแบบอื่น ๆ ในช่วงเวลานั้น อาจจะเป็นต้นตอหรือส่งอิทธิพลไปถึงผัดไทยในเวลาต่อมาก็เป็นได้ โดยอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนในการทำ อย่างเช่นเปลี่ยนจากน้ำส้มสายชูเป็นน้ำมะขามเปียก หรือลดเนื้อสัตว์ต่าง ๆ แล้วเปลี่ยนไปใส่กุ้งแห้งแทน กลายเป็นที่มาของผัดไทยที่เลื่องชื่อในทุกวันนี้
据推测,当时的这道炒粉可能就是现在泰式炒米粉的来源,可能在制作流程上发生了一些改变,例如把醋换成了罗望子汁调味,或者是减少了各种肉类的使用,用干虾替换,演变成了现在大名鼎鼎的泰式炒河粉。

 

关于泰式炒河粉背后的故事,大家了解了吗?

 

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自kapook,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。