原来泰国并非原产地!泰国的榴莲可能是从这里传来的...
榴莲在泰国随处可见,让很多人误以为榴莲自古以来就是在泰国种植的,其实这种观点是存在误区的。那泰国的榴莲到底是哪里来的呢?为什么要叫“榴莲”?快来了解一下吧!
หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ (เล่มที่ 28 เรื่องที่ 4 ทุเรียน ) กล่าวว่า ลาลูแบร์ นักบวชนิกายเยซูอิต และหัวหน้าคณะราชทูตที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 รับสั่งให้เดินทางมากรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2230 ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับผู้คน, สังคม และสิ่งแวดล้อมของเมืองไทย ภายหลังบันทึกนี้ตีพิมพ์ในกรุงปารีส (พ.ศ. 2336) โดยเนื้อหาตอนหนึ่งกล่าวถึง “ทุเรียน” ว่า
泰国青少年百科全书中(第28册第4个故事榴莲)有这么一则故事,讲述了耶稣会传教士Laloubère及其使团在1687年受法国国王路易十四派遣前往暹罗(今泰国) 的经历。他们受命前往阿育陀耶城进行观察。这篇文章记录了他们对泰国人民、社会和环境的观察,后来1793年在巴黎出版,其中一部分提到了“榴莲”的内容。
“ดูเรียน” (Durion) ชาวสยามเรียกว่า “ทูลเรียน” (Tourrion) เป็นผลไม้ที่นิยมกันมากในแถบนี้ แต่สำหรับข้าพเจ้า ไม่สามารถทนต่อกลิ่นเหม็นอันรุนแรงของมันได้ ผลมีขนาดเท่าผลแตง มีหนามอยู่โดยรอบ ดูๆ ไป ก็คล้ายกับขนุนเหมือนกัน มีเมล็ด [พู] มาก แต่เมล็ด [พู] ใหญ่ขนาดเท่าไข่ไก่ ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้กิน ภายในยังมีอยู่อีกเมล็ดหนึ่ง ถือกันว่า ยิ่งมีเมล็ด [พู] ในน้อย ยิ่งเป็นทูลเรียนดี อย่างไรก็ตาม ในผลหนึ่งๆ ไม่เคยปรากฏว่า มีน้อยกว่า 3 เมล็ด [พู] เลย
"榴莲"(Durion)是暹罗人称为"ทูลเรียน"(Tourrion)的水果,在这个地区非常受欢迎。但是对于我来说,我无法忍受它散发出的强烈气味。果实的 大小类似于西瓜,表面有刺。从外观上看,它与菠萝蜜相似。果实中有很多房子(称为“พู”),有鸡蛋大小,这是人们所食用的部分。果实内部还有一个核。人们认为,房子越少,品质越好。然而,一个果实中从未出现少于3房的情况。
จากหลักฐานดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า มีการปลูกทุเรียนในภาคกลางของประเทศไทย ตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ทุเรียนจะเข้ามาจากที่ไหน และโดยวิธีใด ไม่ปรากฏหลักฐาน หากมีผู้สันนิษฐานว่า เป็นการนำมาจากภาคใต้ของประเทศไทยนั่นเอง
根据以上证据,显示自大城王朝时期以来,泰国中部地区就开始种植榴莲。但是关于榴莲是从哪里引进以及采用了何种方式,并没有明确的证据。如果有人 声称是从泰国南部引进的,但没有确凿证据支持这一说法。
ถ้าจริงดังนั้น เส้นทางนำเข้าทุเรียนจากทางใต้จะเป็นเช่นไร
如果真的是这样 的,那榴莲是通过怎样的路线从南部引进的?
องค์ บรรจุน เคยเสนอแนวคิดเช่นเดียวกันนี้ในบทความชื่อ “ทุเรียนเคยหอมจรุงที่มะริด ทวาย ตะนาวศรี มาสิ้นกลิ่นเสียทีที่เมืองจันท์” (ศิลปวัฒนธรรม ฉบับมกราคม 2551) ไว้ดังนี้
Ong Banjun曾 在名为“丹老、土瓦、丹那沙林醇香的榴莲止于尖竹汶”(2008年1月《文化艺术》)的文章中提出了相似的想法,总结如下:
…ทุเรียนเป็นพืชในวงศ์ (Family) นุ่น-ทุเรียน (Bombaceaceae) มีชื่อสามัญ (Common name) ว่า durian มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ (Scientific name) ว่า Durio zibethinus นักพฤกษศาสตร์ระบุว่าทุเรียนมีถิ่นกำเนิดแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แล้วแพร่กระจายทั่วไปทั้งภูมิภาคซึ่งมีสภาพภูมิอากาศร้อนชื้น เช่น ประเทศในเอเชีย ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า อินเดีย ศรีลังกา และไทย…
...榴莲是属于木棉科 的一种 植物,通常被称为 durian,其学名为 Durio zibethinus。植物学家指出,榴莲原产于东南亚地区,然后广泛分布于亚洲热带湿润气候的地区,如印度尼西亚、马来西亚、缅甸、印度、斯里兰卡和泰国...
แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นแหล่งปลูกทุเรียนคุณภาพและเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก แต่ทุเรียนไม่ใช่ผลไม้ไทย มีผู้สันนิษฐานว่าทุเรียนจากมะริด ทวาย ตะนาวศรี แพร่เข้ามาในประเทศไทยด้วยกัน 2 เส้นทาง ได้แก่
尽管泰国是榴莲的高 品质种植地和主要出口国之一,但榴莲并非泰国原产,有人认为榴莲是从丹老、土瓦、丹那沙林(Tanao Sri)等地引进的,主要有两条线路:
เส้นทางที่ 1
线 路1
เข้ามากับกองทัพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ครั้งที่ยกทัพไปตีเมืองมะริด ทวาย และตะนาวศรี เมื่อ พ.ศ. 2330 แต่ตีไม่สำเร็จเพราะเส้นทางทุรกันดาร ขาดเสบียงอาหาร จนเมื่อกองตระเวนได้ออกหาอาหารมาเลี้ยงกองทัพพบทุเรียนป่าเข้า จึงลองนำมากิน และติดใจในรสชาติ จึงได้นำพันธุ์ทุเรียนป่าเข้ามายังกรุงเทพฯ
是在1787年随着拉玛一世攻打丹老、土瓦、丹那沙林三座城市的军队传来的。然而,这次军事行动失败了,因为军队缺乏补给线,食物短缺。当巡逻队寻找食 物时,他们发现了野生榴莲,并尝试食用,深深地被其美味所吸引。因此,他们将野生榴莲品种引入曼谷。
ดังนั้นในยุคต่อมาจึงพบว่ามีต้นทุเรียนอายุ 100-150 ปี ปลูกอยู่ตามบ้านเจ้านายเก่าๆ ในกรุงเทพฯ ซึ่งในเรื่องนี้สอดคล้องกับตำราแม่ครัวหัวป่าก์ ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ซึ่งเขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2451 กล่าวถึงย่านที่ปลูกทุเรียนขึ้นชื่อในกรุงเทพฯ ได้แก่ ย่านบางขุนนนท์ บางโคล่ และบางคอแหลม แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่าจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯ เมื่อปี 2460 และปี 2485 ทำให้ต้นทุเรียนเก่าแก่ล้มตายลงเป็นอันมาก ปัจจุบันจึงไม่หลงเหลือหลักฐานให้เห็นอีกต่อไป
因此,随后,人们发现了分布在曼谷老宅邸的一些榴莲树,据推测它们已有100至150年的历史,与1908年Plian Passakornwong《Maekrua Huapa》烹饪手册中提到的地区相符。该书提到,在曼谷市的一些著名的榴莲树种植地,如Bang Khun Non、Bang Khlo和Bang Kho Laem。然而,遗憾的是,曼谷在1917年和1942年发生了严重的洪水,导致许多老榴莲树死掉了。因此,今天已经找不 到这些历史遗迹了。
เส้นทางที่ 2
线路 2
เชื่อว่าทุเรียนเข้ามาจากเมืองมะริด ทวาย และตะนาวศรีเช่นกัน แต่เข้าสู่ประเทศไทยผ่านทางภาคใต้ โดยนำเข้ามาทางเรือสินค้า เพราะในแถบนั้นได้มีการติดต่อค้าขายกันมายาวนาน ซึ่งอาจเป็นชาวโปรตุเกส ซึ่งเข้ามาค้าขายยังหัวเมืองมอญ มะริด ทวาย ตะนาวศรี ตั้งแต่เมื่อราว 300 ปีก่อน จึงทำให้ทุเรียนแพร่หลายอยู่ในแถบแหลมมลายูและจังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อนที่จะได้นำเข้ามาแพร่หลายในกรุงเทพฯ
据信,榴莲最初是从丹老、土瓦、丹那沙林等地引入的,但通过泰国南部进入该国,主要通过商船运输。在该地区长期存在的贸易联系,可能是通过葡萄 牙人的贸易,他们在300多年前就曾在丹老、土瓦、丹那沙林等地设立贸易站,这使得榴莲在马来半岛和南部的洛坤府等地区广泛传播,然后才进入曼谷。
หลักฐานการแพร่กระจายเข้ามาของทุเรียนจากมะริด ทวาย ตะนาวศรี ยังเหลือร่องรอยให้เห็นในเมืองไทย ได้แก่ บ้านบางตะนาวศรี ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี บางตะนาวศรีนอกจากจะมีชาวไทยและชาวมลายูปัตตานีแล้ว ยังมีชาวมอญอาศัยอยู่ร่วมกันอีกด้วย
榴莲从丹老、土瓦、丹那沙林 传入泰国的证据仍然可以在泰国找到,如现在位于暖武里府直辖县Suan Yai镇的Baan Bang Tanao Sri村,除了有泰国人和马来族外,这个地区还有孟人居住。
ชาวมอญดังกล่าวมาจากตะนาวศรี ได้อพยพเข้ามาในสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาสอมรินทร์ พ.ศ. 2302 ขณะที่กองทัพไทยตั้งรวมพลอยู่ที่แก่งตูม เมื่อพม่ายกทัพจะมาตีชาวตะนาวศรีก็หนีมาเข้ากับกองทัพไทยและภายหลังสงครามสงบก็ได้อพยพตามเข้ามาด้วย ชาวมอญตะนาวศรีนี้ได้ตั้งชุมชนขึ้นยังบางตะนาวศรี แขวงเมืองนนท์
这些丹那沙林 孟人是博龙拉乍三世统治时期 的1759年开始在从丹那沙林迁移到泰国的。当时,泰军在Kaeng Tum军营驻扎,当缅甸军队进攻丹那沙林时,丹那沙林的居民就随着泰国军队逃到了泰国,这些来自丹那沙林的孟人定居在现今的暖武里府的Bang Tanao Sri。
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีสวนผลไม้ขึ้นชื่อ เป็นที่นิยมของคนทั้งประเทศมีอยู่ 2 เมือง ได้แก่ “…อัมพวาสวนนอก บางกอกสวนใน…” เป็นแหล่งปลูกผลไม้รสดี อัมพวาคือ เมืองอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ในปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเป็นสวนนอก อีกแห่งคือบางกอกสวนใน ได้แก่ สวนผลไม้ย่านฝั่งธนบุรี ถือเป็นสวนในเขตเมืองชั้นใน และจากคำบอกเล่าของชาวเมืองนนท์กล่าวว่า พื้นที่บางขุนนนท์ฝั่งธนบุรีกับสวนใหญ่เมืองนนทบุรีนั้นเป็นดินผืนเดียวกัน ปลูกผลไม้ได้รสชาติไม่แตกต่างกัน
在曼谷王朝初期,有两个备受欢迎的水果种植园在全国享有盛名,分别是“安帕瓦郊外果园”和“曼谷内城果园”。这两个地方都是培育优质水果的地方。安帕瓦指的是今天沙没颂堪府安帕瓦,被认为是郊外果园。而曼谷内城果园则是指曼谷市内湄南河吞武里河畔的果园,被视为城中果园。根据当地人的口述 历史,认为湄南河畔的Bang Khun Non区和暖武里Suan Yai的土地是同一块土地,因此水果的品质也相差无几。
ดังนั้น ผลไม้ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะทุเรียนเมืองนนท์ จึงถูกนำมาขายที่บางกอกในนาม “บางกอกสวนใน” ก่อนจะมามีชื่อเสียงเป็นของตนเองว่า “ทุเรียนเมืองนนท์” เมื่อสักร้อยปีมานี้เอง และเมืองนนท์ที่ขึ้นชื่อเรื่องทุเรียนนี้คือ บางตะนาวศรี หรือตำบลสวนใหญ่ในปัจจุบัน ที่คงจะได้นำพันธุ์ทุเรียนของตนติดตัวเข้ามาปลูกในเมืองไทยด้วยนั่นเอง
因此,一部分水果,尤其 是榴莲,被带到曼谷内城销售,被称为“曼谷内城水果”,直到后来被称为“暖武里榴莲”。在过去的一百年里,暖武里因其丹那沙林榴莲或Suan Yai榴莲而声名鹊起,这些品种就是丹那沙林孟人引进泰国的。
ทุกวันนี้ชื่อบางตะนาวศรีเลือนไป เหลือเพียงคนเก่าคนแก่ที่ยังรู้จักย่านบางตะนาวศรีและคลองบางตะนาวศรี ส่วนคนมอญบางตะนาวศรีนั้นกลืนกลายเป็นไทยไปหมด สิ่งที่ยังพอหลงเหลือคือเครื่องปั้นดินเผาบางตะนาวศรี แม้ไม่โด่งดังเท่าหม้อไหดินเผาของมอญปากเกร็ด แต่ชื่อเสียงเก่าก่อนยังถูกเล่าขานกันในเรื่อง “หม้อบางตะนาวศรี ขัดมันดีใช้ทนทาน…” และ “…เลื่องลือทุเรียนนนท์…”
现在,Bang Tanao Sri的名字逐渐被淡忘,只有一些年长的人还记得它和Bang Tanao Sri河。而曼谷内城的丹那沙林孟人也逐渐融入泰国,唯一留下来的是就是丹那沙林孟人 的陶器制作。虽然名声不如Pak Kret孟人的泥瓦罐大,但是也被人们以“丹那沙林的锅,制作精良结实耐用”和“暖武里榴莲”的方式而记住。
ความสับสนถึงที่มาของคำว่า “ทุเรียน” นั้นยังไม่เป็นที่ยุติ แม้จะมีความชัดเจนว่าทุเรียนไม่ใช่ผลไม้ไทย เป็นผลไม้แถบมะริด ทวาย และตะนาวศรี ที่ภาษาอังกฤษก็เรียกว่า durian ตามภาษาของคนในภูมิภาคนี้ และที่แน่นอนคือ คำว่า ทุเรียน ก็ไม่ใช่ภาษาไทยอย่างแน่นอน
“ทุเรียน” 一词的起源仍然不明确 ,虽然明确的是榴莲不是泰国水果,而是源自丹老、土瓦、丹那沙林的水果,英语也仿照这个地区的人们将称其为durian。当然,“ทุเรียน” 一词并非泰语词汇。
ผู้เขียนมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนกับอาจารย์เบ็น (Benedict Anderson) นักวิชาการด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยคอร์แนล สหรัฐอเมริกา ในงานเสวนาเขมร-มอญศึกษา ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2550 อาจารย์เบ็นยืนยันว่า “ทุเรียน” เป็นภาษามลายู เนื่องจากในภาษามลายูออกเสียงว่า “ดือรี” แปลว่า หนาม
作者曾有机会与亚洲 东南部研究学者、美国康奈尔大学教授贝内迪克特·安德森进行交流,在2007年6月8日在泰国法政大学举办的高棉-孟研究研讨会上,安德森教授确认“ทุเรียน” 是马来语词汇,因为在马来语中发音为“ดือรี”,意思是“刺”。
ผู้เขียนสอบถามเพื่อนชาวมลายูก็ได้ความรู้ใกล้เคียงกันคือ “ดือรี” แปลว่า หนาม ส่วนคำว่า “ดือรีแย” แปลว่า หนามเยอะ ซึ่งก็คือทุเรียนนั่นเอง [10] แต่โดยส่วนรวมและส่วนตัวแล้วทั้งผู้เขียนและชาวมอญทั้งหลายต่างก็เชื่อว่า “ทุเรียน” เป็นภาษามอญ ภาษามอญออกเสียงว่า “ตูเรน” (dUernj) ไม่สามารถหาความหมายแยกย่อยลงไปได้อีก
作者向马来朋友询问 ,得到了与安德森教授相似的回答,即“ดือรี” 的意思是“刺”,而 “ดือรีแย” 则意味着“刺很多”,这就是榴莲的含义。然而,总的来说,无论作者还是孟人都认为“ทุเรียน” 是孟语词汇。在孟语中,“ทุเรียน”的发音是“ตูเรน”(dUernj),无法再细分其意义。
ผู้เชี่ยวชาญภาษามอญและบาลีสันสกฤตกล่าวว่า “ทุเรียน” ไม่มีในภาษาบาลีสันสกฤต แต่ถ้าจะพูดถึงผลไม้ชนิดนี้แล้ว ก็จะเป็นการสร้างชุดคำนิยามขึ้นมาว่า “ผลไม้ที่กินด้วยความ (ทุร) ยากลำบาก” ซึ่งคำในภาษามอญยืมคำบาลีสันสกฤตมาใช้มากเช่นเดียวกับภาษาไทย ภาษามอญคงได้เอาศัพท์ “ทุร” ในภาษาบาลีมาใช้เรียกผลไม้ชนิดนี้ตามวิธีคิดแบบบาลีสันสกฤต
孟语和梵语巴利语语言学专家指出,“ทุเรียน” 这个词在梵语巴利语中并不存在。然而,当谈及这种水果时,可以构建一个定义,即“难以剥去的水果”,这种构词方式与泰语相似,孟语也像泰语一样经常借用巴利语词汇。可以推测,孟语可能也是借用了梵语巴利语中的 “ทุร” 这个词来描述这 种水果。
ประกอบกับข้อมูลทางพฤกษศาสตร์ที่ระบุว่า ทุเรียนเป็นพืชพื้นเมืองแถบมะริด ทวาย และตะนาวศรี ซึ่งใน 3 เมืองนี้มีประชากรทั้งกะเหรี่ยง ทวาย มอญ และชนกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยอีกมาก ทั้งยังเคยอยู่ในปกครองของมอญในอดีตดึกดำบรรพ์ ดังนั้นผู้เขียนจึงเชื่อว่า “ทุเรียน” เป็นคำในภาษามอญ อย่างไม่เคยสงสัย
结合植物学的知识,榴莲是丹老、土瓦、丹那沙林等地的当地水果,这些地区居住着很多克伦人、土瓦人、孟人和其他少数民族,都曾经在远古时期被孟族进行过统治,所以,作者认为“ ทุเรียน”肯定是孟语的词汇。
大家还听过什么关于榴莲的有趣故事呢?
声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。