泰式米线是一种很多人都非常喜欢的美食,蘸上浓郁的汤汁,满满都是非常泰国的香味,但大家可能不知道,这种米线的泰语名字里恰巧有“中国”这个词,难道这种米线也起源于中国吗?还是另有原因?快来了解一下!

“ขนมจีน” เป็น อาหาร ชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งที่โรยลงไปในน้ำเดือด มักเอาไปทำเป็นเมนูสุดอร่อยอย่าง ยำขนมจีน กินคู่กับน้ำยาต่าง ๆ เช่น แกงเขียวหวาน, น้ำยาปู, น้ำยากะทิ, น้ำยาป่า หรือเอาไปกินเคียงกับส้มตำก็เป็นอันใช้ได้ 
“ขนมจีน”(Kanom Jeen)是一种在沸水中制成的米粉,常用于制作美味的菜肴,如凉拌米粉,以及搭配各种酱汁食用,如绿咖喱、蟹酱、椰奶酱、辣酱等 ,或者与泰式青木瓜沙拉一起食用也非常美味。

“ขนมจีน” จึงเป็น อาหาร สำคัญอย่างหนึ่งในวิถีการกินของคนไทยมาอย่างช้านาน แล้วคำว่าขนมจีน มาจากไหน ทำไมต้องใช้คำว่าจีน เกี่ยวข้องอะไรกับคนจีนหรือประเทศจีนหรือไม่?
“泰式米线”因此成为泰国人饮食文化中的重要组成部分。那么,“ขนมจีน”这个词的来源是什么呢?为什么要用“จีน”(中国)这个词呢?它与中国人或中国 有关系吗?

คำว่าขนมจีน มีหลายข้อสันนิษฐาน แต่หลัก ๆ แล้วคาดว่ามาจากภาษามอญ โดยคำว่า “ขนม” ไม่ได้มาจากขนมที่คนคิดว่าคือของหวาน แต่มาจาก “ขะ นอม” หรือคะนอม กับ “จิน” คำแรกแปลว่าเส้น ส่วนอีกคำแปลว่าสุก ซึ่งตรงกับขนมจีนที่เป็นการเอาเส้นที่ทำจากแป้งมาทำให้สุก
关于“ขนมจีน”这个词的来源 有很多种说法,但主要认为它来自孟语。词语“ขนม”并不是指甜点,而是来自“ขะนอม”或“คะนอม”,这个词的意思是“米线”,而“จีน”意为“熟”,这与“ขนมจีน”是用米粉制成的熟米线相符。

ทว่ายังมีอีกข้อสันนิษฐานหนึ่งที่คาดว่าขนมจีนอาจจะไม่ได้มาจากภาษามอญอย่างที่เข้าใจกัน และอาจจะเกี่ยวข้องกับจีนแทน ซึ่งความเห็นนี้มาจาก บำรุง คำเอก อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งได้กล่าวไว้ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับสิงหาคม พ.ศ. 2546 บทความ “ขนมจีน หรือขนมมอญ?” ว่า
然而,还有一种说法认为“ขนมจีน”可能并非来自孟语,而可能与中国有关。这个观点来自艺术大学考古学院东方语言系的Bamroong Kam-Ek教授,他在2003年8月的《艺术与文化》杂 志上发表的文章《“中国米线”还是“孟族米线”?》中提到:

“สิ่งที่น่าสังเกตคือ คนมอญนั้นจะเรียกขนมจีนว่า ‘คนอม’ เฉยๆ ไม่ใช่คนอมจิน เราจะพบได้จากบทความต่างๆ ทั่วไป ซึ่งกล่าวถึงเรื่องเล่าเกี่ยวกับความเป็นมาของคำ ‘คนอมจิน’ ว่า 
“值得注意的是,孟族人称‘ขนมจี น’为‘คนอม’(Kanom),而不是‘คนอมจิน’(Kanom Jin)。我们可以在各种文章中看到有关‘คนอมจิน’这个词的故事,比如:

ขณะที่คนมอญกำลัง ‘คนอม’ อยู่ ก็มีคนไทยเดินมาและร้องถามว่า กำลังทำอะไรอยู่ คนมอญตอบเป็นภาษามอญว่า
当孟族人在制作‘คนอม’(Kanom)时,有一个泰国人走过来问他们在做什么,孟族人用孟语回答‘

‘คนอมจิน โก๊กเซมเจี๊ยะกัม’ แปลว่า ขนมจีนสุกแล้ว เรียกคนไทยมากินด้วยกัน
คนอมจิน โก๊กเซมเจี๊ยะกัม’, 意思是‘ขนมจีน熟了,叫泰国人一起来吃’

และจากนั้นเป็นต้นมา คนไทยก็เรียกอาหารชนิดนี้ว่า ‘คนอมจิน’ และเพี้ยนมาเป็นขนมจีน”
从那时起,泰国人就称 这种食物为‘คนอมจิน’(Kanom Jin),后来逐渐变成‘ขนมจีน’(Kanom Jeen)。”

นอกจากนี้ยังอธิบายต่อว่า…
此外,Bamroong Kam-Ek教授还解释道:

“จากเรื่องเล่านี้จะสังเกตได้ว่า ฟังดูลอยๆ ไม่สมเหตุผล เนื่องจากคำว่า ‘คนอม’ แปลว่า ‘ทำ’ ไม่พบว่าเป็นกริยาที่ใช้กับอาหารชนิดอื่น เช่น
“从这个故事可以看出 ,这种解释有些牵强,因为‘คนอม’(Kanom)这个词在孟语中是‘制作’的意思,不用于其他食物的烹饪动作。例如:

‘หุงข้าว’ มอญใช้คำว่า ‘ตุนเปิง’ ‘ตุน’ แปลว่าหุง ‘เปิง’ แปลว่าข้าว
‘煮饭’用孟语说是‘ตุ นเปิง’(Tun Peng),‘ตุน’(Tun)意为‘煮’,‘เปิง’(Peng)意为‘饭’。

‘ทำแกง’ (ต้มแกง) มอญใช้คำว่า ‘ตุนกวะ’ ‘กวะ’ แปลว่าแกง 
‘煮汤’(做汤)用孟语 说是‘ตุนกวะ’(Tun Gwa),‘กวะ’(Gwa)意为‘汤’。

‘ทำขนม’ มอญใช้คำว่า ‘โกลนกวาญจ์’ ‘โกลน’ แปลว่า ทำ, ‘กวาญจ์’ แปลว่าขนม…
‘做点心’用孟语说是‘ โกลนกวาญจ์’(Kon Kwan),‘โกลน’(Kon)意为‘做’,‘กวาญจ์’(Kwan)意为‘点心’。

เรื่องของวัฒนธรรมขนมจีน ผมคิดว่าไม่น่าจะมีใครเป็นเจ้าของ เพราะสามารถพบได้ทั่วไปในภูมิภาคนี้ เช่น ในเวียดนามที่เรียกว่า ‘บุ๋น’ ซึ่งฟังแล้วคล้ายคลึงกับคำว่า ‘ข้าวปุ้น’ ทางภาคอีสานของเรา นมเวง
‘ขนมจีน’(Kanom Jeen)这种食物可能并不固定属于某一方,因为在东南亚地区都能看到,例如在越南称这种食品为‘บุ๋น’(Bun),这与泰国东北部的‘ข้าวปุ้น’(Khao Pun)发音相似。

ในเขมรสูง ‘นม’ แปลว่าขนม ‘เวง’ แปลว่าเส้น ซึ่งมีความหมายคล้ายคลึงกับคำว่า ‘ขนมเส้น’ ทางภาคเหนือ และในพม่ายังเรียก ‘อาหาร’ ชนิดนี้ว่า ‘โมนดิ’ แปลว่า ‘มอญ’ (ของมอญ?) อีกด้วย
在高棉地区,‘นมเวง’(Nom Veng)中的‘นม’(Nom)意为‘点心’,‘เวง’(Veng)意为‘面’,这与泰国北部的‘ขนมเส้น’(Kanom Sen)意义相近。在缅甸,这种 食物称为‘โมนดิ’(Mon Di),意为‘孟族的’。

ที่น่าสนุกกว่านี้ ขนมจีนของเรายังหากินได้ที่เกาะไหหลำ (แถมยังกินกับกะปิอีกด้วย ที่ยืนยันว่าเหมือนกันแน่ๆ เพราะว่าทำจากแป้งขาวเจ้า และเป็นเส้นกลมๆ)
更有趣的是,我们 的‘ขนมจีน’(Kanom Jeen)也可以在海南找到(而且还配着虾酱吃,这表明它确实相似,因为它是用米粉制成的圆形米线)。

คำว่าขนมจีน อาจจะมีเค้ามาจากจีนจริงๆ (อันนี้ผมคิดเล่นๆ นะครับ ชาวมอญอย่าเพิ่งโกรธ) เพราะถ้าเรามาลองคิดดูด้วยเหตุผลอีกหนึ่งว่า ในการออกเสียงภาษามอญไม่มีวรรณยุกต์ ถ้าคำว่าขนมจีน เป็นภาษาไทย แล้วคนมอญเอาคำนี้ไปใช้ก็จะไม่สามารถพูดคำว่า ‘ขนม’ ได้ ต้องออกเสียงว่า ‘คนอม’ 
‘ขนมจีน’这个词可能确 实来自中国(这是我随便想的,希望孟族人不要生气),因为如果我们考虑到孟语中没有声调,如果‘ขนมจีน’是泰语词,孟族人使用时就无法发出‘ขนม’这个音,而只能说‘คนอม’(Kanom)。

และโดยนิสัยของคนมอญนั้น ชอบตัดคำให้สั้นลงในภาษาพูด จะเห็นว่าภาษาพูดและภาษาหนังสือจะไม่เหมือนกัน เช่น คำว่า ‘คน’ ในภาษาพูดของมอญพูดว่า ‘นิห์’ ภาษาเขียนใช้ว่า ‘เมะนิห์’ ลักษณะนี้จะพบได้เสมอในภาษามอญ (พระเจ้าสีหราชาธิราช เป็นพระเจ้าราชาธิราช)
孟族人习惯于在口语中 简化词语,这在孟语中经常可以看到,例如‘人’在孟语口语中说‘นิห์’(Nih),书面语用‘เมะนิห์’(Meni)。这种情况在孟语中经常出现(例如‘พระเจ้าสีหราชาธิราช’变为‘พระเจ้าราชาธิราช’)。

ดังนั้น คำว่าขนมจีน ในภาษาไทย อาจถูกเรียกว่า ‘คนอมจิน’ และสุดท้ายเหลือเพียงคำว่า ‘คนอม’ หรือ ‘ฮนอม’”
因此,泰语中的‘ขนมจี น’(Kanom Jeen)可能被称为‘คนอมจิน’(Kanom Jin),最终简化为‘คนอม’(Kanom)或‘ฮนอม’(Hanom)。

“ขนมจีน” ในเรื่องที่มาอาจจะยังมีข้อถกเถียงกันอยู่บ้าง แต่ขนมจีนในเรื่องความอร่อย เมื่อกินคู่หรือเอาประกอบร่วมกับเมนูอื่น ๆ นั้น ไม่มีข้อกังขาเลยแม้แต่น้อย…
虽然“ขนมจีน”(Kanom Jeen)的起源可能仍有争议,但这种食品的美味却是无可争议的,无论是与其他菜肴搭配还是单独食用,都令人回味无穷。
 

大家喜欢吃泰国的“ขนมจีน”吗?

 

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。