最近,在印度首都新德里召开的第46届联合国教科文组织世界遗产委员会会议通过决议,将泰国普普拉巴特历史公园列入《世界遗产名录》。这个历史公园位于泰国东北部乌隆府。考古研究表明,该地区的人类活动历史可追溯至史前时代。接下来就让我们一起来了解一下这个新晋世界遗产!

เป็นข่าวดีของคนไทยทั้งประเทศ เมื่อยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียน “อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท” อ. บ้านผือ จ. อุดรธานี เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ต่อจาก “เมืองโบราณศรีเทพ” จ. เพชรบูรณ์ ที่เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมไปเมื่อเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา ซึ่งหนึ่งในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทก็คือ พระบาทบัวบก ที่เมื่อใครไปเยือนภูพระบาทแล้วต้องไปกราบไหว้สักการะเป็นสิริมงคล
全泰国人民迎来好消息,联合国教科文组织宣布将乌隆府班普县的“普普拉巴特历史公园”列为文化类世界遗产。这是继去年九月碧差汶府的“诗贴古城”被列为文化类世界遗产后,泰国又一处文化瑰宝获得世界遗产地位。在普普拉巴特历史公园内,有一处神圣的地方叫“Bua Bok佛足印”,凡是来到普普拉巴特的人都会前往参拜,以求吉祥。

“พระบาทบัวบก” รอยพระพุทธบาทเก่าแก่แห่งภูพระบาท
“Bua Bok佛足印”——普普拉巴特的古老佛足印

ผศ. ดร. ธีระวัฒน์ แสนคำ อาจารย์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง ให้ข้อมูลว่า เหตุที่พื้นที่แถบนี้ได้ชื่อว่า “ภูพระบาท” เพราะมีรอยพระพุทธบาทประดิษฐานอยู่หลายรอย
摩訶玛古 德大学(Srilanchang校区)的助理教授Theerawat Saenkham博士介绍说,这片区域之所以被称为“普普拉巴特”(直译为“佛足山”),是因为这里有多处佛足印。

“ที่สำคัญคือมีการดัดแปลงเพิงผาและก้อนหินตามธรรมชาติที่โดดเด่น เพื่อใช้เป็นที่ปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาและความเชื่อมาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในลักษณะของภูเขาศักดิ์สิทธิ์
“重要的是 ,自史前时代起,人们对这些突出的天然岩石和巨石进行了改造,用于宗教活动和信仰实践,将其视为神圣的山。”

มีนิทานพื้นบ้านระบุว่า เป็นที่อยู่ของนางอุสา ผู้เป็นชายาของท้าวบารส สถานที่ต่างๆ บนภูพระบาทจึงถูกตั้งชื่อผ่านฉากต่างๆ ของนิทานพื้นบ้านอุสา-บารส”
民间传说称 ,这里是巴洛王的妻子乌萨的居所,因此普普拉巴特的各个地点是以民间故事《乌萨-巴洛》中的各种场景来命名的。

รอยพระพุทธบาทนี้มีความสำคัญมากที่สุดบนภูพระบาท เนื่องจากได้รับความเคารพศรัทธา และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุครอบรอยพระพุทธบาทมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
普普拉巴特 的佛足印因其受人尊敬和信仰,成为最重要的地方之一,并一直受到修复和保护,延续至今。

ลักษณะของพระพุทธบาทเป็นรอยเท้าประดิษฐ์โดยโบกปูนทับรอยเดิม กว้าง 92 เซนติเมตร ยาว 160 เซนติเมตร ลึก 75 เซนติเมตร เป็นรอยพระบาทขวา บริเวณใกล้ๆ รอยพระพุทธบาทยังมีรูหรือปล่องพญานาคตามความเชื่อท้องถิ่นปรากฏอยู่
这里的 佛足原始足迹用灰泥覆盖,宽92厘米,长160厘米,深75厘米,为右脚足印。在佛足印附近,还有根据当地传说中的那伽洞。

เดิมพระพุทธบาทมีอูบมุงครอบอยู่ ต่อมา พระอาจารย์สีทัตถ์ ญาณสมฺปนฺโน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ญาครูสีทัตถ์” ได้ธุดงค์มาพบซากอูบมุง จึงร่วมมือกับพุทธศาสนิกชนรื้อแล้วปฏิสังขรณ์ใหม่ โดยสร้างพระธาตุครอบรอยพระพุทธบาท
最初 ,佛足印有一个砖砌的覆盖物,后来,著名的僧人Sithat Suwanmajo发现了这个残破的覆盖物,并与佛教信徒一起将其拆除并重建,建造了一个覆盖佛足印的佛塔。

การก่อสร้างเริ่มใน พ.ศ. 2462 และแล้วเสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. 2473 ซึ่งพระธาตุได้จำลองรูปแบบมาจากพระธาตุพนมองค์เดิมก่อนการบูรณะสมัยรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม
建造工 作始于公元1919年,并于公元1930年完成。这座佛塔仿照了原始的Phrathat Phanom佛塔的样式,后者在銮披汶军政府时期进行了修复。

ผศ. ดร. ธีระวัฒน์ สันนิษฐานว่า พระพุทธบาทนี้น่าจะเป็นรอยพระพุทธบาท 1 ใน 5 รอย ที่พระพุทธเจ้าประทับให้เหล่านาคได้สักการบูชา โดยเฉพาะรอยพระพุทธบาทสุดท้าย ซึ่งในตำนานอุรังคธาตุ ฉบับกรมศิลปากรจัดพิมพ์ ระบุว่า
Theerawat博士推测,这个佛足印可能是佛陀在那伽守护时留下的五个足印之一,特别是最后一个足印,在泰国国家文化部出版的《舍利传说》 中记载,

“พระศาสดาทรงย่ำไว้ที่แผ่นหินในภูกูเวียนใกล้ปากถ้ำที่สุวรรณนาคอยู่ แล้วพระศาสดาซ้ำทรงอธิษฐานรอยบาทไว้ให้พุทโธธปาปนาคที่หนองบัวบาน ซึ่งเป็นที่เกิดของนางอุษาแต่ก่อนรอยหนึ่ง และอธิฐานไว้ในแผ่นดินให้แก่นาคทั้งหลายที่มิได้ปรากฏชื่อนั้น ๒ รอย ในแผ่นหินบนโพนบกนั้นรอยหนึ่ง”
“佛陀 在距离那伽居住洞口很近的Phu Kuwian山的石板上留下了足印,然后在Bua Ban湖为乌萨的出生地留下了一个足印,为所有未被记名的那伽留下了两个足印,还在Phon Bok的石板上留下一个足印。”

“โพนบก” ที่ปรากฏในตำนานอุรังคธาตุ มีความใกล้เคียงกับ “บัวบก” อันเป็นชื่อของพระพุทธบาทที่เรียกกันอยู่ในปัจจุบัน จึงอาจสันนิษฐานได้ว่า พระพุทธบาทนี้ได้ชื่อจากที่มาดังกล่าวนั่นเอง
“Phon Bok”在《舍利传说》中出现的名称,与如今被称为“Bua Bok”的佛足印名字相近,因此推测这个佛足印的名称来源于此。

大家知道泰国还有哪些世界遗产吗?

 

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。